พระบรมบรรพต(ภูเขาทอง)วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
The Golden Mount
ภูเขาทองวัดสระเกศ นับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
ภูเขาทองยิ่งเป็นสิ่งคุ้นตาของคนกรุงเทพฯมาช้านานแล้ว
แต่เพราะความเร่งรีบในการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯในปัจจุบันนั้น ทำให้ไม่ค่อยได้สนใจถึงความเป็นมาของภูเขาทองกันสักเท่าไร
ทั้งๆที่ไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานั้น ภูเขาทองที่ตั้งอยู่ ณ
วัดสระเกศนับได้ว่าเป็นศูนย์รวมของอะไรหลายๆอย่าง
ที่บ่งบอกถึงวิถีแบบไทยๆในอดีตก่อนหน้านั้นขึ้นไปอีก
แต่ก่อนนั้นใครๆก็รองานวัดสระเกศ ซ้ำยังเรียกกันด้วยซ้ำว่าไปเที่ยวงานภูเขาทอง
งานภูเขาทองก็คืองานวัดที่จัดกันปีละหน เป็นวัฒนธรรมงานวัดแบบไทยแท้ๆ
ยิ่งในงานภูเขาทองด้วยแล้ว ถือว่าเป็นงานวัดระดับมหึมาของเมืองกรุงกันเลยทีเดียว
งานวัดที่สุดคลาสสิคที่สุดก็คืองานภูเขาทองหรืองานวัดสระเกศนี่เอง
เจดีย์ภูเขาทอง(พระบรมบรรพต)วัดสระเกศ
 |
ภาพจาก www.maneger.co.th |
วัดสระเกศเป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา
เล่ากันว่าเดิมชื่อวัดสะแก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้พระราชทานนามวัดว่าวัดสระเกศ วัดสระเกศนี้มีเกร็ดเล่าว่า
ตอนสร้างกรุงเทพฯต้องการที่จะให้เหมือนพระนครศรีอยุธยามากที่สุด
จึงหมายจะให้ทำคลองมหานาคแถบวัดสระเกศให้เป็นที่เล่นเพลงเรือ เพลงสักวา และจะให้มีพระมหาเจดีย์สูงใหญ่เหมือนเจดีย์ภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยา
 |
ภาพจาก www.gotoknow.com เจดีย์ภูเขาทอง อยุธยา |
 |
ภาพจาก www.wikimepia.com เจดีย์ภูเขาทอง |
พอถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระสุวรรณบรรพต ซึ่งแปลตรงๆว่าภูเขาทองนั่นเอง โดยโปรดให้สร้างเป็นเจดีย์แบบพระปรางค์(ยังไม่ทำเป็นเจดีย์ดังที่เห็นในปัจจุบัน) ได้มีการลงรากฐานด้วยท่อนซุงขนาดใหญ่ถมดินหิน
ก่อโครงด้วยไม้ซุงขึ้นไป ทำการก่ออิฐสร้างได้สองชั้น
ปรากฏว่าฐานรับน้ำหนักมากและพื้นชั้นรากฐานเป็นเลนตม อันเป็นไปตามสภาพธรรมชาติทางธรณีวิทยาของพื้นดินกรุงเทพฯ น้ำหนักของฐานที่มากจึงกดให้ดินทรุดพังลงมาทำให้ต้องหยุดการสร้างพระสุวรรณบรรพตไป
 |
ภูเขาทองสมัยแรกสร้างเป็นทรงแบบพระปรางค์ |
 |
ชั้นฐานของภูเขาทองยุคแรก |
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองขึ้นมาให้สำเร็จ
ทำเป็นบันใดสองทางสำหรับขึ้นลง การสร้างพระเจดีย์ครั้งนี้ก่อด้วยปูน
สามารถทำได้สูงถึง ๑ เส้น ๑๘ วา ๒ ศอก
การสร้างในครั้งนี้ทำเป็นพระเจดีย์อยู่ด้านบนสุดเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามประวัติการสร้างว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพระราชทานนามใหม่เป็นพระบรมบรรพต
การสร้างยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ดีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็สวรรคตก่อน
 |
ภาพจาก bloggang.com |
 |
ภาพจาก pantip.com |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างต่อจนสำเร็จเมื่อ
วันศุกร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีฉลู ตรงกันสุริยคติกาลคือวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๐
ทรงให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากในวังมาประดิษฐานในองค์พระเจดีย์
 |
ภาพจาก www.thaigramophone.com |
 |
ภาพจาก pantip ถ่ายเมื่อ พ.ศ.2433 |
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา เสด็จแทนพระองค์เนื่องจากทรงพระประชวร
ให้เสด็จมาประกอบพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์บนยอดพระบรมบรรพต
ต่อมาในพ.ศ.๒๔๙๓ ในรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการซ่อมแซมบูรณะพระบรมบรรพตใหม่
ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาชั่วคราว
เมื่อการปฏิสังขรณ์พระบรมบรรพตเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว
จึงได้จัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นไปประดิษฐานดังเดิม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในครั้งนี้ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๗
พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานบนพระบรมบรรพตนี้
มีลักษณะเป็นกระดูกมนุษย์จริงๆ มีร่องรอยของการถูกเผามาจริงๆ
ทั้งยังถูกค้นพบยังพระสถูปโบราณเขตเมืองกบิลพัสดุ์
และเมืองกบิลพัสดุ์นี้ก็คือเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาของพระพุทธองค์นั่นเอง
ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของข้อมูลมากครับท่ีนำเน้ือหาสาระทางพระพุทธศาสนามาเสนอแนะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้คนชนรุ่นหลังจะได้กระทำแต่ส่ิงดีงามตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.สาธุ สาธุ สาธุ ครับ...
ตอบลบ