แม่มดเป็นคำที่ใช้เรียกผู้หญิงที่รู้เวทมนต์ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มีความเชื่อเรื่องแม่มดด้วยกันทั้งนั้น ส่วนมากมักเข้าใจกันว่าแม่มดเป็นพวกที่ไม่ดี ซึ่งไม่ถูกเสมอไป เพราะแม่มดฝ่ายที่ดีก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน แม่มดฝ่ายที่ร้ายจะเรียกกันว่าแม่มดดำ แม่มดที่ดีเรียกแม่มดขาว
แม่มดดำ คือแม่มดที่เคารพบูชาจอมปีศาจซาตาน(Satan)
รวมทั้งปีศาจชั้นรองๆลงไปเช่น เบลเซบัพ ลิลิธ
เวทมนต์ที่ใช้ก็จะดูร้ายๆน่ากลัว มีการฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ มีพิธีกรรมที่ดูลึกลับน่าเกรงกลัว
เช่นปริมณฑลที่เขียนด้วยเลือด
แม่มดดำจะมีชื่อเสียงเล่าลือกันไปในทางร้ายๆน่ากลัว จะมั่วสุมอยู่กับภูตผีปีศาจ
วัตถุอาถรรพ์ที่น่าหวาดกลัวน่าขยะแขยงเช่นข้อมือมนุษย์ ลูกนัยน์ตา ซากสัตว์ ซากศพ
แม่มดขาว เป็นแม่มดที่บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
(Supreme
being) เวทมนต์คาถาที่ใช้ก็จะออกไปทางที่ดีๆเช่นเวทมนต์รักษาโรค แม่มดขาวจะมีความสะอาด
ปกติแล้วก็เหมือนผู้หญิงใจดีทั่วๆไป จะดูไม่ออกว่าเป็นแม่มดขาวเลย แต่แม่มดขาวก็มีความลึกลับเช่นกัน
Witch หรือแม่มดมาจาก wit ในภาษาแองโกลแซกซอน หมายถึง การหยั่งรู้ ต้องการรู้ ซึ่งความหมายดังนี้เข้ากับพฤติกรรมของแม่มดด้วย
แม่มดจะสนใจอยากรู้และทดลองทั้งเวทมนต์และตัวยาต่างๆ
เมื่อพิจารณาถึงเรื่องนี้แล้วคล้ายๆนักเล่นแร่แปรธาตุนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อย
คนทั่วไปถ้านึกถึงแม่มด แทบทั้งหมดมักนึกถึงกันแต่เพียงแม่มดดำ จะคุ้นกับตำนานแม่มดที่ต้องมีรูปร่างน่ากลัว เป็นหญิงแก่จมูกงุ้ม สวมหมวกทรงแหลม เวลาจะไปไหนมาไหนก็ขี่ไม้กวาดเหาะไป จะมีแมวดำอยู่ข้างๆตัว มีหม้อใบใหญ่ๆไว้ต้มยาที่ใช้ในทางเวทมนต์ร้ายๆ อยู่ร่วมกับปีศาจ วันร้ายคืนร้ายก็จะออกไปสาปชาวบ้าน
แม่มดจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งมีด้วยกัน 13 ตน กลุ่มแม่มดจะมาชุมนุมกันเดือนละครั้งในคืนวันเพ็ญ
และจะมีการรวมตัวแม่มดกลุ่มต่างๆปีละสี่ครั้งซึ่งตรงกับวันสำคัญทางศาสนาทั้งสิ้น ได้แก่
วัน Candlemas(2 ก.พ.)
วัน Walpergist Night( 1พ.ค. วันต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ)
วัน Rammas Day(วันฉลองการเก็บเกี่ยวประจำปี)
และครั้งสุดท้ายซึ่งเป็นครั้งที่สำคัญที่สุดของปี คือวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันฮัลโลววีน การที่แม่มดกำหนดวันชุมนุมรวมกลุ่มกันในวันดังกล่าวนั้น นัยว่าเพื่อแสดงการแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนานั่นเอง
วัน Walpergist Night( 1พ.ค. วันต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ)
วัน Rammas Day(วันฉลองการเก็บเกี่ยวประจำปี)
และครั้งสุดท้ายซึ่งเป็นครั้งที่สำคัญที่สุดของปี คือวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันฮัลโลววีน การที่แม่มดกำหนดวันชุมนุมรวมกลุ่มกันในวันดังกล่าวนั้น นัยว่าเพื่อแสดงการแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนานั่นเอง
การชุมนุมกันของแม่มดนั้น หากมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมพิธีด้วย จะมีกฏข้อบังคับว่า ทุกๆคนจะต้องเปลือยกายเหมือนพวกแม่มด จะต้องยอมบูชาซาตาน การชุมนุมจะมีการดื่มกินกันอย่างมูมมาม ตลอดจนกระทั่งสมสู่กันในกลุ่มอย่างเสรี ในคืนวันเพ็ญที่แม่มดมาชุมนุมกันนั้น คนที่กลัวแม่มดจะแอบอยู่แต่ในบ้าน
ความเชื่อเรื่องแม่มดนั้นทางฝรั่งยุคโบราณเขาเชื่อกันมาก
ทั้งเชื่อทั้งหวาดกลัวแม่มดกันทั้งทวีปยุโรป ความเชื่อว่าแม่มดเป็นสิ่งชั่วร้ายได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนถึงสมัยยุโรปยุคกลาง(Middle
Ages) ที่บางช่วงเรียกว่ายุคมืด(Dark Ages) นั้น เกิดมีการตามล่าสังหารแม่มดกันอย่างขนานใหญ่ การล่าแม่มดในยุคนั้นมีหญิงผู้บริสุทธิ์จำนวนมากถูกฆ่าอย่างน่าสยดสยอง ประมาณว่ามีผู้หญิงที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดถูกฆ่าไปถึงประมาณไม่ต่ำกว่าสองแสนคน
หลังจากมีหนังสือเล่มหนึ่งเกิดขึ้น การล่าแม่มดก็ยิ่งทวีความรุนแรงจนถึงขีดสุด การตามล่าสังหารแม่มดดำเนินต่อไปนับร้อยๆปี หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า มาเลอัส มาเลฟิคารัม(Malleus Maleficarum) หรือ คู่มือล่าแม่มด(Hammer of Witches) เป็นหนังสือที่แต่งโดย ไฮน์ริช เครมเมอร์ (Heinrich Kramer) และ จาคอบ สเปรนเกอร์ (Jacob Sprenger)
หนังสือคู่มือล่าแม่มด ต่อมาโดนประณามว่าเป็นหนังสือที่ชั่วร้ายที่สุดในโลก |
ไฮน์ริช เครมเมอร์และจาคอบ สเปรนเกอร์ นั้นเป็น ผู้พิพากษาที่สนองพระโองการสำนักพระสันตะปาปา (Papal Bull) ประกาศสำเร็จโทษพวกพ่อมด แม่มด หมอผีทั้งหลายอย่างรุนแรง ทั้งคู่เป็นเป็นชาวโดมินิกัน โดยบาทหลวงไฮน์ริช เครมเมอร์ เป็นอดีตเจ้าหน้าที่สอบสวนจากแคว้นไทรอล(อยู่ระหว่างออสเตรีย ตะวันตกและทางเหนือของอิตาลี) และจาคอบ สเปรนเกอร์(ทางเหนือของสวิสเซอร์แลนด์บนฝั่งแม่น้ำไรน์)
หนังสือ Malleus Maleficarum แปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ Hammer of Witches คู่มือสำหรับการล่าแม่มด มีตัวอักษรประมาณ 250,000 คำ หนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลแพร่หลายนานถึงสองศตวรรษ แล้วในที่สุดหนังสือคู่มือล่าแม่มดได้ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือที่ชั่วร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา และคนทั้งหลายเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ไม่ควรมีในโลก
พวกที่ทำการล่าสังหารแม่มดในประเทศต่างๆนั้น ต่างก็ใช้วิธีการตรวจสอบไต่สวนที่น่าขยะแขยงที่มีในหนังสือเล่มนี้
ซึ่งมีวิธีทรมานโหดๆต่อหญิงที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด เพื่อให้ยอมรับและสารภาพ แน่นอนว่าผู้ที่ถูกทรมานต้องจำยอมรับสารภาพเพราะทนรับการทรมานที่โหดเหี้ยมไม่ไหว วิธีการทรมานมีสารพัด
เช่น ตอกเล็บ บีบขมับ เข้าเครื่องยืดแขนขา บีบอัดขา เอาเหล็กเผาไฟจนแดงจี้ตามตัว
จนถึงวิธีฆ่าแม่มดแบบโหดเหี้ยมทารุณ เช่นวิธี "แสตปตาโด" โดยจับเปลื้องผ้าจนร่างเปลือยเปล่า แล้วเอาร่างผู้ต้องสงสัยขึ้นแขวนโยงกับรอก และถ่วงน้ำหนักที่เท้า ดึงห้อยแขวนไว้ จนกว่าจะยอมสารภาพ หรือการฆ่าผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดด้วยการมัดร่างกับหลักไม้แล้วจุดไฟเผาทั้งเป็น มีทั้งการเผาแบบเดี่ยวและเผาสังหารคราวละหลายๆคน
หนังสือ มาเลอัส มาเลฟิคารัม(Malleus Maleficarum) ก่อให้เกิดการลงโทษคนบริสุทธิ์นับล้านคนในยุคกลางของยุโรป คนที่ไม่ได้เป็นแม่มดต้องยอมรับสารภาพเพราะทนรับการทรมานไม่ไหว
หนังสือ มาเลอัส มาเลฟิคารัม(Malleus Maleficarum) ก่อให้เกิดการลงโทษคนบริสุทธิ์นับล้านคนในยุคกลางของยุโรป คนที่ไม่ได้เป็นแม่มดต้องยอมรับสารภาพเพราะทนรับการทรมานไม่ไหว
ผู้ถูกสงสัยว่าเป็นแม่มดที่ยังไม่ถูกทรมานนั้น ก็มีการทดสอบว่าจะเป็นแม่มดจริงหรือไม่ แต่เป็นการทดสอบที่ไปๆมาๆก็เป็นการทรมานอยู่นั่นเอง และถึงตายเอาได้ง่ายๆด้วยคือ จะจับมัดมือมัดเท้าแล้วโยนลงน้ำ โดยตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเป็นแม่มดจะต้องลอยน้ำได้ แต่ถ้าไม่ได้เป็นแม่มดก็จะต้องจมน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแม่มดเกิดจมน้ำแล้ว ก็จะรอว่าจมน้ำจริงๆไม่ได้แกล้งจม กว่าจะรู้ว่าไม่ใช่แม่มดก็ขาดใจตายไปแล้ว
จับผู้ต้องสงสัยถ่วงน้ำพิสูจน์แม่มด |
การตรวจสอบแม่มดที่พิลึกพิลั่นอีกแบบหนึ่งก็คือ จะจับตัวผู้ถูกกล่าวหามาชั่งน้ำหนัก โดยเชื่อกันว่าแม่มดจะต้องมีน้ำหนักตัวเบามากเพราะไม่ใช่คน แม่มดมีน้ำหนักตัวเบาจึงสามารถบินได้ การทดสอบวิธีนี้ดูเหมือนไม่โหดร้าย แต่ในความเป็นจริงว่าน้ำหนักจะเบาหรือปกติ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ทดสอบแม่มดว่าจะให้ผลลงเอยอย่างไรนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าผู้บริสุทธิ์ต้องถูกตราหน้าว่าเป็นแม่มดเสมอ โดยเฉพาะพวกยากจนและพวกที่ผู้ทดสอบและศาลไม่ชอบหน้า
การชั่งน้ำหนักแม่มด |
วิธีตรวจสอบอีกวิธีหนึ่งตามที่หนังสือล่าแม่มดบอกไว้คือ การตรวจหา “รอยปีศาจ” ซึ่งเป็น “รอยที่ปีศาจทิ้งไว้แทนคำสัญญาที่ให้ไว้กับแม่มด”
เจ้าหน้าที่จะหา"รอยปีศาจ"นี้โดยโกนผมและขนทุกเส้นบนร่างกายของผู้ต้องสงสัย
แล้วจึงตรวจตามร่างกายอย่างละเอียดทุกซอกทุกมุมต่อหน้าพยาน
ซึ่งก็เป็นพวกของเจ้าหน้าที่นั่นเอง
การตรวจจะเอาเข็มแทงตามจุดต่างๆของร่างกายที่มีตำหนิมาตั้งแต่เกิด เช่น รอยแผลเป็น
หูด ไฝ ปาน ถ้าแทงแล้วไม่เจ็บหรือเลือดไม่ออก
แสดงว่าจุดนั้นเป็นรอยปิศาจสัญลักษณ์แห่งซาตาน
แต่แน่นอนว่าถ้าผู้ต้องสงสัยแสดงอาการเจ็บปวด ก็จะยังไม่เชื่อว่าเจ็บจริง
จะคิดไว้ก่อนว่าแม่มดแกล้งเจ็บ จึงจะทรมานต่อไปจนพอใจ
ผู้รอดชีวิตจากการทดสอบจำนวนมากนั้น
ในที่สุดแล้วอาจต้องพิการหรืออาจถึงตายในเวลาต่อมา
การตรวจหา รอยปีศาจ |
ในยุโรปยุคกลางนั้น มีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแม่มดถูกจับเผาทั้งเป็นไปไม่น้อยกว่าสองแสนคน ผู้ต้องสงสัยที่เคราะห์ร้ายนั้น ปรากฏว่าถูกใส่ร้ายเอาดื้อๆ ผู้ที่จะรอดจากการถูกเผาทั้งเป็นมีทางเดียวคือต้องติดสินบน แน่นอนว่าต้องเป็นคนรวยเท่านั้นจึงจะมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะต่อรองได้ บางทีก็ต้องยอมพลีกายให้ข่มขืนเพื่อแลกกับการตัดสินว่าไม่ใช่แม่มด ช่วงยุโรปยุคกลางนับเป็นช่วงฝันร้ายของผู้หญิง
การกล่าวหาใครว่าเป็นแม่มดนั้น ก็สามารถทำกันได้ง่ายๆอย่างเหลือเชื่อเช่น เกิดความแห้งแล้ง หรือเกิดภัยทางธรรมชาติพวกเกิดพายุ เกิดน้ำท่วม เกิดโรคระบาด แม้แต่คนป่วยตามปกติ ก็จะคิดกันง่ายๆว่าเป็นเพราะแม่มดทำให้เกิดขึ้น จากนั้นก็จะเกิดการระดมกำลังกันตามหาผู้ต้องสงสัย
และมักมีตัวเลือกอยู่ในใจแล้วให้เป็นแพะรับบาป
หลักฐานในการกล่าวหาว่าเป็นแม่มดนั้นก็ง่ายจนเหลือเชื่อเช่น แค่เลี้ยงหมากับแมวไว้ในบ้านก็โดนกล่าวหาว่าเป็นแม่มด หรือบางทีผู้ถูกกล่าวหามีความรู้ทางสมุนไพร ก็โดนข้อหาว่าเป็นแม่มดได้แบบดื้อๆ นอกจากนี้หญิงสาวที่สวยเกินไปก็โดนข้อหานี้ด้วย เพราะต้องสงสัยว่าจะต้องทำสัญญาปีศาจ โดยแลกความสวยงามกับการยอมเป็นสาวกของปีศาจ ในสมัยนั้นผู้ชายที่มีอำนาจมีฐานะนั้น ชอบกล่าวหาผู้หญิงที่ไม่ยอมพลีกายให้ตนเองว่าเป็นแม่มด ทั้งยังชอบทารุณกรรมผู้หญิง และจบลงด้วยการลากหญิงเคราะห์ร้ายไปเผาไฟทั้งเป็นโดยยกข้ออ้างจากไบเบิลขึ้นมาอ้างเอาเองว่า "สูเจ้าจะต้องไม่ทรมานแม่มดด้วยการปล่อยให้มีชีวิต ( "Thou
shlt not a suffer a witch to live" )"
คดีของ เอลลิน ฮอวส์นอส
ตัวอย่างของหญิงเคราะห์ร้ายที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดมีหลายราย เช่น คดีของ เอลลิน ฮอวส์นอส ซึ่งเป็นหญิงม่ายที่ยังอยู่ในวัยสาว เธอถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดเพียงแค่เพราะทะเลาะกับสามีเก่าเท่านั้น
เหตุเกิดขึ้นในตลาดของวันหนึ่ง มาแรตต้า ลาริสซ่า
สามีที่หย่าไปของเธอเกิดมีปากเสียงกับเอลลินขึ้นกลางตลาด
ครั้นเมื่อไม่สามารหาเหตุผลใดมาว่าร้ายเอลลินได้
มาเรตต้าก็ด่าเอลลินด้วยถ้อยคำต้องห้ามในสมัยนั้น ซึ่งน่ากลัว
และเสี่ยงต่อการติดคุกต่อผู้ถูกด่ามากคือคำว่า "แม่มด" เอลลินจึงตบหน้าของมาเร็ตต้า มีผู้เห็นเหตุการณ์เป็นจำนวนมากเพราะเหตุเกิดขึ้นในตลาด
หลังจากนั้นไม่นานบังเอิญ มาเรตต้า ผู้เป็นสามีเก่าของเอลลินเสียชีวิต เอลลินจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด เพราะไปทะเลาะกันก่อนหน้านี้ เอลลินโดนจับขังคุกและจะต้องถูกทดสอบความเป็นแม่มดด้วยการถูกจับถ่วงน้ำ ซึ่งถ้าจมก็แสดงว่าไม่ใช่แม่มด แต่ถ้าลอยขึ้นมาได้ก็แสดงว่าเป็นแม่มด เอลลินจึงต้องผ่านการทดสอบที่ไร้เหตุผลนี้ ถ้าผ่านได้ก็มีโอกาสรอด
และเสี่ยงต่อการติดคุกต่อผู้ถูกด่ามากคือคำว่า "แม่มด" เอลลินจึงตบหน้าของมาเร็ตต้า มีผู้เห็นเหตุการณ์เป็นจำนวนมากเพราะเหตุเกิดขึ้นในตลาด
หลังจากนั้นไม่นานบังเอิญ มาเรตต้า ผู้เป็นสามีเก่าของเอลลินเสียชีวิต เอลลินจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด เพราะไปทะเลาะกันก่อนหน้านี้ เอลลินโดนจับขังคุกและจะต้องถูกทดสอบความเป็นแม่มดด้วยการถูกจับถ่วงน้ำ ซึ่งถ้าจมก็แสดงว่าไม่ใช่แม่มด แต่ถ้าลอยขึ้นมาได้ก็แสดงว่าเป็นแม่มด เอลลินจึงต้องผ่านการทดสอบที่ไร้เหตุผลนี้ ถ้าผ่านได้ก็มีโอกาสรอด
การกล่าวหาว่าเป็นแม่มด |
ก่อนการทดสอบเธอได้พบกับ
ฮาเกิ่น ผู้ทรมานแม่มด ซึ่งเคยผ่านคดีพิสูจน์แม่มด และเคยเป็นผู้ทรมานแม่มดมาจนนับไม่ถ้วน ฮาเกิ่นเห็นว่าเอลลินยังสาวและสวย จึงยื่นข้อเสนอแลกเปลี่ยนกับเอลลินในการไม่ถูกจับถ่วงน้ำ โดยที่เอลลินต้องยอมพลีกายร่วมเพศด้วย เอลลินต้องยอมตกลง ในที่สุดเอลลินก็ได้รับการปล่อยตัว
เรื่องยังไม่จบแค่นั้นเพราะอีก 10ปีต่อมา เอลลินถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดอีกครั้ง ตอนนั้นเอลลินแต่งงานกับโอลูฟ และมีลูกชายหนึ่งคนอายุราว 8 ขวบ เอลลินถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะคู่หมั้นของน้องสาวถอนหมั้น และเอลลินทะเลาะกับพ่อของสามีเก่าที่เสียชีวิต เป็นความบังเอิญที่ในเวลาต่อมา สัตว์เลี้ยงและพืชผลของพ่อสามีเก่าเสียหาย เอลลินจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดอีกครั้งด้วยข้อหาว่า ทำให้สามีคนแรกเสียชีวิต ทำเสน่ห์ใส่คู่หมั้นของน้องสาว ใช้อำนาจของแม่มดสาปพ่อสามีเก่าจนเป็นเหตุให้สัตว์เลี้ยง และพืชผลเสียหาย
เรื่องยังไม่จบแค่นั้นเพราะอีก 10ปีต่อมา เอลลินถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดอีกครั้ง ตอนนั้นเอลลินแต่งงานกับโอลูฟ และมีลูกชายหนึ่งคนอายุราว 8 ขวบ เอลลินถูกตั้งข้อหาเพียงเพราะคู่หมั้นของน้องสาวถอนหมั้น และเอลลินทะเลาะกับพ่อของสามีเก่าที่เสียชีวิต เป็นความบังเอิญที่ในเวลาต่อมา สัตว์เลี้ยงและพืชผลของพ่อสามีเก่าเสียหาย เอลลินจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดอีกครั้งด้วยข้อหาว่า ทำให้สามีคนแรกเสียชีวิต ทำเสน่ห์ใส่คู่หมั้นของน้องสาว ใช้อำนาจของแม่มดสาปพ่อสามีเก่าจนเป็นเหตุให้สัตว์เลี้ยง และพืชผลเสียหาย
ฮาเกิ่นเป็นผู้ทดสอบแม่มดอีกเช่นเดิม คราวนี้ผู้พิพากษาศาลได้บอกฮาเกิ่นว่า หากเขาพบว่าเอลลินไม่มีความผิด เขาก็ควรจะปล่อยให้เธอผิด เพราะเอลลินไม่ได้เป็นสาวสวยเหมือนเมื่อก่อนแล้ว อย่างไรเขาก็ได้เงินค่าตอบแทนอยู่แล้ว ด้วย จึงไม่จำเป็นที่จะต้องช่วยเอลลิน ข้อนี้เป็นการบอกว่าผู้พิพากษาต้องการให้เอลลินตาย
ตรวจหารอยปีศาจ |
ฮาเกิ่นบอกลายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับตำหนิของร่างกายเอลลินว่า เธอมีแผลเป็นตรงไหนบ้าง เพื่อใช้อ้างว่าเธอมีตำหนิสัญลักษณ์ของแม่มดที่เรียกว่า "รอยปีศาจ" เมื่อผู้ตรวจแม่มดซึ่งเป็นหญิงมาตรวจร่างกายของเอลลิน ก็พบตำหนินั้นและยืนยันว่าเอลลินเป็นแม่มด
ศาลตัดสินว่าเอลลินเป็นแม่มดจริงและ ถูกสั่งให้โกนหัวก่อนจะโดนประหารด้วยการตัดคอ
ศาลตัดสินว่าเอลลินเป็นแม่มดจริงและ ถูกสั่งให้โกนหัวก่อนจะโดนประหารด้วยการตัดคอ
ตัวอย่างผู้เคราะห์ร้ายอีกรายคือคดี แม่มดแห่งนอร์ธ เบอร์วิก
คดี แม่มดแห่งนอร์ธ เบอร์วิก (North Berwick)
คดีนี้เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ และเป็นคดีเผาแม่มดรายแรกของสกอตแลนด์ ทั้งยังเป็นคดีที่กี่ยวข้องกับราชวงศ์แห่งเดนมาร์กและสก็อต โดยพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ (ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ) ได้รับทราบแผนการลอบปลงพระชนม์ที่ เอิร์ล แห่ง โบธเวลล์ (Bothwell) เป็นผู้วางแผนโดยใช้แม่มดให้ทำพิธีเรียกพายุถล่มเรือ
เริ่มจากพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แล่นเรือไปยังโคเปนเฮเกนเพื่อจะแต่งงานกับเจ้าหญิงแอนน์น้องสาวของพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
คดีนี้เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ และเป็นคดีเผาแม่มดรายแรกของสกอตแลนด์ ทั้งยังเป็นคดีที่กี่ยวข้องกับราชวงศ์แห่งเดนมาร์กและสก็อต โดยพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ (ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ) ได้รับทราบแผนการลอบปลงพระชนม์ที่ เอิร์ล แห่ง โบธเวลล์ (Bothwell) เป็นผู้วางแผนโดยใช้แม่มดให้ทำพิธีเรียกพายุถล่มเรือ
เริ่มจากพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แล่นเรือไปยังโคเปนเฮเกนเพื่อจะแต่งงานกับเจ้าหญิงแอนน์น้องสาวของพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ภาพรายงานเหตุการณ์จากหนังสือ Newes From Scotland ในยุคนั้น |
ระหว่างที่กลับไปยังสกอตแลนด์(ข้อมูลมีแตกต่างบ้างว่า พระเจ้าเจมส์ที่ 6 ไม่ได้ไปเดนมาร์ก แต่ทางเดนมาร์กส่งเจ้าหญิงแอนน์ ให้เดินทางไป) เรือพระที่นั่งพบพายุที่น่ากลัว และต้องหลบอยู่ในนอร์เวย์เป็นเวลาหลายสัปดาห์ แต่แล้วกลับเกิดการกล่าวหาว่าเรือโดนพายุเพราะอำนาจแม่มด ทางด้านเดนมาร์กได้กล่าวหา แอนนา โคลดิ้ง ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดพายุ แอนนาถูกกดดันให้เปิดเผยชื่อของผู้หญิงห้าคน ซึ่งได้ถูกบังคับให้สารภาพว่าใช้เวทมนตร์เรียกพายุให้ขัดขวางการเดินทางของเจ้าหญิงแอนน์ และพวกเขาได้ส่งปีศาจปีนขึ้นไปที่กระดูกงูของเรือ
ส่วนเอิร์ล แห่งโบธเวลล์ ผู้เป็นราชนัดดาที่ก่อการทั้งหมดได้ลี้ภัยไปอยู่ประเทศ ชิชิลี
ต่อมาในเดือนกันยายนหญิงผู้ถูกกล่าวหาสองคนถูกตัดสินว่าเป็นแม่มด และถูกจับเผาทั้งเป็นที่ Kronborg เมื่อพระเจ้าเจมส์ได้ยินข่าวจากเดนมาร์กเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงได้ตัดสินใจที่จะตั้งศาลพิพากษาคดีแม่มด ผู้ถูกกล่าวหาว่าใช้เวทมนต์ให้เกิดพายุขัดขวางเรือลำดังกล่าวคือ แอ็กเนส ซิมป์สัน(Agnes Simpsonหรือ แอ็กเนส จอห์น) และ ด็อกเตอร์ จอห์น ฟาน(หรือ จอห์น เฟียน)
แอ็กเนส โดนจับมัดขังคุก และโดนสวมหน้ากากแม่มด ซึ่งเป็นหน้ากากทำด้วยเหล็กมีง่ามแหลมสี่อัน พอใส่หน้ากากแล้วง่ามแหลมนี้จะถ่างปากให้อ้าออก และจะเกี่ยวจนทะลุแก้ม แอ็กเนสทนไม่ไหวต้องยอมรับสารภาพว่าเป็นแม่มดใช้เวทมนต์สร้างพายุขัดขวางเรือพระที่นั่ง แอ็กเนสโดนประหารชีวิตด้วยการรัดคอและเผาไฟ
หมอจอห์นโดนทรมานด้วยการสกัดเล็บและโดนแทงด้วยเหล็กแหลม ในที่สุดก็ทนการทรมานไม่ไหวจนต้องยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้ร่วมกันกับแอ็กเนสใช้เวทมนต์สร้างพายุ หมอจอห์นถูกลงโทษด้วยการมัดกับเสาแล้วเผาที่เมืองเอดินเบอระในวันที่ 16 ธันวาคม
ภาพรายงานเรื่องหมอจอห์น |
ผู้ถูกใส่ร้ายว่าเป็นแม่มดที่โด่งดังที่สุดก็คือ ฌาน ดาร์ก หรือ โยนส์ออฟอาร์ค
ฌาน ดาร์ค ( Jeanne d'Arc , Jehanne Darc หรือโจนออฟอาร์ก , โยนส์ออฟอาร์ค) ( 6 มกราคม
ค.ศ. 1412 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญโยนออฟอาร์ค เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
โจนมาจากครอบครัวชาวนาที่เกิดทางตะวันออกของฝรั่งเศสและเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง
และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7
ฌาน ดาร์ค |
ฌาน(โจน)อ้างว่าได้รับนิมิตจากพระเจ้าผู้ทรงบอกให้ไปช่วยกู้บ้านเมืองคืนจากการครอบครองของฝ่ายอังกฤษในปลายสงครามร้อยปี มกุฎราชกุมารชาร์ลส์ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ทรงส่งโจนไปช่วยผู้ถูกล้อมอยู่ในเมืองออร์เลอองส์ ฌานสามารถเอาชนะทัศนคติของนายทัพผู้มีประสบการณ์ได้และสามารถยุติการล้อมเมืองได้ภายใน 9 วัน หลังจากนั้นการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดหลายครั้งก็นำไปสู่การราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ที่แรส์(Reims)
โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ว่ากันว่าโจนถูกจับเพราะโดนฝ่ายของตัวเองหักหลัง ต่อมาโจนถูกพิจารณาคดี และในวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.1431 โจนถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือแม่มดเมื่ออายุ
19 ปี การเผาโจนนั้นนับว่าทารุณกรรมและไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุด คือ หลังจากเผาโจนครั้งแรกแล้วมีการเกลี่ยกองไฟหาร่างที่ยังเหลือของโจน จากนั้นจึงทำการเผาซ้ำอีกถึงสองครั้ง แล้วนำเถ้าของโจนและเศษถ่านไฟทั้งหมดไปทิ้งลงในแม่น้ำแซน
ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7
ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต
สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลแรก
ศาลสรุปว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ ทางศาลได้ประกาศว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1456 และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น “มรณสักขี”(มรณสักขี : martyr หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ)
ในปี ค.ศ. 1909
โจนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุญราศี(บุญราศี : Beatification คือกระบวนการที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดขึ้นเพื่อรับรองว่าบุคคลหนึ่งได้เข้าสู่สวรรค์และสามารถวอนขอพรจากพระเป็นเจ้าแทนมนุษย์บนโลกได้) และต่อมาโจนได้รับการประกาศเป็นนักบุญเมื่อวันที่ 16
พฤษภาคม ค.ศ. 1920 วันฉลองนักบุญโจนออฟอาร์คตรงกับวันที่ 30 พฤษภาคม
โจนออฟอาร์คกลายเป็นเซนต์หรือนักบุญหลังจากถูกใส่ร้ายว่าเป็นพวกนอกรีตหรือแม่มด ใช้เวลาถึงเกือบห้าร้อยปี
เรียบเรียงใหม่จาก วิกิพิเดียไทยและอังกฤษ , www.jw.org , www.cmxseed.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น