โรครองช้ำ
พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำ(Plantar
Fasciitis)
ผู้เขียนนี้เป็นโรครองช้ำมานานกว่าครึ่งปี
รู้สึกขัดใจและรำคาญตัวเองเอามากๆ ทั้งรำคาญทั้งเจ็บตรงที่ส้นเท้า เลยทำให้เดินเหินไม่ถนัด
ซึ่งผู้เขียนรู้อยู่แก่ใจว่าสาเหตุมาจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
และเดินนานๆหลายชั่วโมงทุกๆวัน จนเกิดอาการของโรครองช้ำขึ้นในที่สุด
บางครั้งถึงขนาดเดินอยู่ดีๆก็เจ็บแปล๊บที่ส้นเท้าขึ้นมาจนต้องทรุดลงนั่งพักเอาดื้อๆ
นับว่าเป็นที่รำคาญใจมาก จึงรู้ตัวว่าเราใช้สังขารทรมานสังขารมากไปแล้ว
เลยหาข้อมูลเรื่องอาการเจ็บส้นเท้าและวิธีบรรเทาหรือรักษาด้วยตัวเองก่อน
ได้ทดลองทำตามวิธีที่ท่านผู้รู้ได้กรุณาเผยแพร่ไว้เป็นวิทยาทาน
ปรากฏว่าได้ผลดีมากๆ ปัจจุบันนี้ผู้เขียนไม่มีอาการของโรครองช้ำอีกแล้ว
ข้อมูลต่อไปนี้ได้จากบทความของ อ.พญ.กุลภา
ศรีสวัสดิ์ , อ.พญ.นวพร ชัชวาลพาณิชย์ คลินิกสุขภาพเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสต์ศิริราชพยาบาล
โรครองช้ำคือภาวะที่มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า เป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่พบในผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 40 – 70 ปี โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐาน
สาเหตุ
มีการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้าสืบเนื่องมาจากการบาดเจ็บของพังผืดบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้า
โดยการบาดเจ็บนี้มักจะเป็นการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ ที่สะสมมานาน
มักพบร่วมกับการมีเอ็นร้อยหวายตึง
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ การขาดการออกกำลังกาย
หรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่มีอาการปวดใต้ส้นเท้า
อาการปวดจะเป็นมากในช่วงเช้าโดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง
หรือเมื่อยืนลงน้ำหนักหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน
เมื่อเดินไประยะหนึ่งอาการมักจะดีขึ้น
หากการอักเสบรุนแรงขึ้นอาการปวดอาจเป็นมากขึ้นหลังจากยืนหรือเดินมากได้ ตรวจร่างกายพบจุดกดเจ็บบริเวณใต้ส้นเท้าค่อนมาทางด้านใน อาจมีอาการบวมหรือแดงของผิวหนังร่วมด้วย
เมื่อกระดกนิ้วเท้าขึ้นอาจทำให้มีอาการปวดตามแนวพังผืดฝ่าเท้าไปจนถึงส้นเท้า
การรักษา
1.การแช่เท้าในน้ำอุ่นจะช่วยให้สบายขึ้น
2.การรับประทานหรือทายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
(NSAIDs)
เพื่อลดการอักเสบ
3.การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดและอาการอักเสบ
เช่น การทำอัลตราซาวด์ เป็นต้น
4.การออกกำลังเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย โดยทำวันละ
2
– 3 รอบ ๆ ละ 10 – 15 ครั้ง
การยืดเอ็นร้อยหวาย (ท่าที่ 1):
ผู้ป่วยยืนหันหน้าเข้าหากำแพงใช้มือยันกำแพงไว้
วางเท้าที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวายไว้ข้างหลัง งอข้อศอกพร้อมกับ
ย่อเข่าด้านหน้าลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยขาด้านหลังเหยียดตึงและส้นเท้าติดพื้นตลอดเวลา
ย่อลงจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึงแล้วค้างไว้นับ 1 – 10
ถือเป็น 1 ครั้ง
ท่าที่ 1 |
การยืดเอ็นร้อยหวาย (ท่าที่ 2):
ผู้ป่วยนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดเอ็นร้อยหวาย
ใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าไว้ แล้วดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ค้างไว้นับ
1
– 10 ถือเป็น 1 ครั้ง
ท่าที่ 2 |
การยืดเอ็นร้อยหวาย (ท่าที่ 3):
ผู้ป่วยยืนบนขอบพื้นต่างระดับ
โน้มตัวไปข้างหน้าจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ค้างไว้นับ 1 – 10 ถือเป็น 1 ครั้ง
ท่าที่ 3 |
5.
การฉีดยาสเตียรอยด์ตรงตำแหน่งที่ปวดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
วิธีนี้จะลดการอักเสบได้ดี แต่ไม่ควรทำมากกว่า 2–3
ครั้งต่อปี เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นขาด
6. การเลือกใช้รองเท้าที่เหมาะสม คือมีส้นเล็กน้อย
(สูงประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว)
เพื่อเป็นการถ่ายเทน้ำหนักตัวจากส้นเท้าไปยังฝ่าเท้า
ส่วนหน้าซึ่งจะช่วยให้อาการปวดลดลง
7.การปรับรองเท้าให้เหมาะสม
เพื่อช่วยลดอาการปวด โดยการใช้อุปกรณ์เสริมบริเวณอุ้งเท้าด้านใน
และบริเวณส้นเท้าโดยใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นที่เหมาะสมเพื่อกระจายและลดแรงกระแทกบริเวณส้นเท้าและเป็นการถ่ายน้ำหนักไปยังฝ่าเท้าส่วนหน้า
การป้องกันการออกกำลังเพื่อยืดเอ็นร้อยหวายอย่างสม่ำเสมอและการเลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม
จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
อ.พญ.กุลภา
ศรีสวัสดิ์ , อ.พญ.นวพร ชัชวาลพาณิชย์
คลินิกสุขภาพเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสต์ศิริราชพยาบาล
จาก bloggang มีข้อมูลแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยเช่น แผ่นรองรองเท้า และ Night Splints
ใช้แผ่นรองรองเท้า
การใช้แผ่นรองรองเท้าที่ดีนั้นจะช่วยลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้ากระทำกับเข้ากับพื้นรองเท้า ในกรณีที่ใช้แผ่นรองรองเท้าที่ทำแค่เฉพาะเท้าของผู้ป่วยนั้น ก็จะยิ่งช่วยลดแรงกระแทกได้
การใช้แผ่นรองรองเท้านี้จะสามารถช่วยอาการปวดให้ทุเลาลงได้ภายใน 3 เดือน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สำหรับการใช้แผ่นรองรองเท้านี้ ว่าสามารถจัดการกับอาการปวดได้ในระยะยาว (Journal of orthopaedic & sports physical therapy, april 2008)
ถ้าวิธีข้างต้นยังไม่สามารถที่จะทำให้อาการปวดส้นเท้าหายไปได้
แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้
ใช้ Night Splints
Night Splints เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เท้าของผู้ป่วยอยู่ในตำแหน่งปรกติในเวลานอน
และจะทำให้ช่วยขบวนการในการรักษาตัวเองของเส้นเอ็น เป็นไปได้เร็วขึ้น
และเมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นในตอนเช้าจะช่วยลดความเจ็บปวดของส้นเท้าลง แต่ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัดเวลานอนเมื่อใช้ Night
Splints เนื่องจากมีลักษณะที่เทอะทะ
ควรพิจารณาในการเลือกใช้ Night Splints ว่าผู้ป่วยควรจะมีอาการมามากกว่า 6 เดือนแล้ว สำหรับระยะเวลาในการใส่ก็ประมาณ 1-3 เดือน ชนิดของ Night Splints นี้ยังไม่ปรากฏรายงานว่าอันได้ดีกว่ากัน
ควรพิจารณาในการเลือกใช้ Night Splints ว่าผู้ป่วยควรจะมีอาการมามากกว่า 6 เดือนแล้ว สำหรับระยะเวลาในการใส่ก็ประมาณ 1-3 เดือน ชนิดของ Night Splints นี้ยังไม่ปรากฏรายงานว่าอันได้ดีกว่ากัน
การรักษาอาการด้วยตัวเองยังมีคำแนะนำจาก www.aafp.orgให้ทำตามรูปภาพดังนี้
จาก bbznet.pukpik.com
มีดังนี้
หากรู้ตัวว่าเริ่มมีการอาการของโรครองช้ำแล้ว ขอให้ท่านลองทำตามท่าตัวอย่างต่างๆนี้ ผู้เขียนได้ทดลองทำมาแล้ว ได้ผลดีจริงๆ จึงเก็บความมาฝาก ต้องขอขอบคุณท่านผู้เผยแพร่ข้อมูลข้างต้นทุกๆท่าน ทุกๆแหล่งข้อมูลด้วยครับ
เป็นรองช้ำใช้ Air Arch แผ่นรองส้นเท้าสุขภาพ โทร 085-9551036 ธวัชชัย ID Line : twchai2
ตอบลบต้องการคำแนะนำค่ะ
ตอบลบ