วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

สุขภาพดีไม่มีขาย..จึง..ต้องทำเอง.6 ปวดหลัง

ปวดหลัง



เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพนี้เขียนส่งเดชไม่ได้ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ใกล้ตัวเรามาก ดังนั้นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพทั้งหลายนั้น จึงได้พยายามเสาะหาข้อมูลจากท่านผู้รู้ หรือแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้จากหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เมื่ออ่านจนเข้าใจแล้วจึงค่อยนำเสนอ เพื่อทุกท่านจะได้รู้จักการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องมีสุขภาพดีกันถ้วนหน้า และอย่าลืมว่า..สุขภาพดีไม่มีขาย..จึง..ต้องทำเอง

บทความดีๆจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

     อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ในปัจจุบันพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน ซึ่งหากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

โครงสร้างของหลัง
 1.กระดูกสันหลัง  เป็นกระดูกแกนกลางที่สำคัญของร่างกายในการรองรับน้ำหนักตัว กระดูกสันหลังมีลักษณะเป็นปล้องๆ ตั้งแต่คอถึงเอว โดยจะเรียกตำแหน่งตามตัวเลข ดังนี้

.ส่วนคอ (cervical spine) ประกอบด้วยกระดูก 7 ชิ้น (เรียก C1-C7)
.ส่วนอก (thoracic spine) ประกอบด้วยกระดูก 12 ชิ้น (เรียก T1-T12)
.ส่วนเอว (lumbar spine) ประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้น (เรียก L1-L5) ซึ่งเป็นส่วนที่พบอาการปวดบ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบน
.ส่วนกระเบนเหน็บ (sacral spine) ประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้น (เรียก S1-S5) ซึ่งทั้งหมดจะรวมเป็นชิ้นเดียว เรียกว่ากระดูกก้นกบ
ตำแหน่งที่กระดูกสันหลังแต่ละชิ้นเชื่อมต่อกันเรียกว่า ข้อต่อกระดูกสันหลัง มี 2 ข้าง คือซ้ายและขวา ช่วยให้กระดูกสันหลังสามารถเคลื่อนไหวได้ และระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้นจะมีหมอนรองกระดูกสันหลังคั่นอยู่ ภายในหมอนรองกระดูกมีลักษณะคล้ายเจลลี ซึ่งถ้าหากหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาด และส่วนชั้นในเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามมาได้ 

2.กล้ามเนื้อหลัง ยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลัง โดยมีเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกแต่ละชิ้นเข้าไว้ด้วยกัน

3.เส้นประสาทไขสันหลัง ในช่องโพรงกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทไขสันหลังจำนวน 31 คู่ ทำหน้าที่รับความรู้สึกและสั่งงานไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย



ปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลัง

.อายุ อาการปวดหลังเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งในหนุ่มสาววัยทำงาน และในผู้สูงอายุ

.การขาดการออกกำลังกาย ในคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง ไม่สามารถรองรับกระดูกสันหลังได้

.อ้วน น้ำหนักตัวที่มากเกินไปส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องรับน้ำหนักมากทำให้เกิดความเสื่อมได้มากขึ้น นอกจากนี้ไขมันที่พอกพูนบริเวณหน้าท้องอาจทำให้สมดุลของร่างกายเสียไปและเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุได้

.โรคบางชนิด เช่น ข้ออักเสบ เนื้องอกบางชนิด

.การทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องยกของ ใช้แรงผลักหรือดึงซึ่งทำให้กระดูกสันหลังบิด รวมถึงผู้ที่ทำงานอยู่กับโต๊ะเป็นเวลานานโดยอิริยาบถไม่ถูกต้องก็อาจปวดหลังได้

ภาพ healthkapook.com

สาเหตุของอาการปวดหลัง

     อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรือพยาธิสภาพของกระดูกสันหลังเอง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก

.ท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการใช้งานหลังที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุการปวดหลังที่พบได้บ่อยในคนวัยทำงานที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค) หากไม่ได้ใส่ใจกับท่านั่งที่ถูกต้อง มักจะนั่งด้วยท่าทางแบบหลังงอ ไหล่ห่อและก้มคอเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ การยกของหนักโดยใช้การก้มหลัง น้ำหนักทั้งหมดจะผ่านไปที่กระดูกสันหลังส่วนที่กำลังโค้งมากที่สุด

.การบาดเจ็บบริเวณหลัง จากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา เช่น รักบี้ ฟุตบอล การมีการบาดเจ็บหรือมีการกระแทกอย่างต่อเนื่องส่งผลให้กระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วขึ้น

.ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบแต่กำเนิด กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังมีมากหรือน้อยผิดปกติ

.ภาวะของกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้มาก ภาวะเหล่านี้ ได้แก่
     -หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
     -โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ คือ ภาวะที่มีการแคบลงของโพรงกระดูกสันหลังเนื่องมาจากการหนาตัวขึ้นของกระดูกหรือเส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทที่วิ่งอยู่ในโพรงกระดูกถูกบีบรัดจากกระดูกหรือเส้นเอ็นที่มีการหนาตัวขึ้นจากการเสื่อมสภาพ
     -กระดูกสันหลังเคลื่อน เมื่อกระดูกสันหลังเสื่อมและเสียความมั่นคงแข็งแรงไป จะทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนได้ จะทำให้เกิดอาการปวดหลังมีการขยับ และอาจมีการปวดร้าวลงขาได้เมื่อมีการกดทับเส้นประสาท


.โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่หลังได้ เช่น โรคไต โรคเกี่ยวกับรังไข่และมดลูก โรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง หรือมะเร็งที่มีการกระจายมายังกระดูกสันหลัง

 อาการ

     ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดเฉพาะที่หลังเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีอาการปวดร้าวมาที่สะโพกหรือขา อาการปวดขาจะปวดไปตามบริเวณซึ่งถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะความปวดแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางรายอธิบายอาการปวดว่ามีลักษณะแหลมเหมือนโดนมีดแทง บางรายรู้สึกปวดหน่วงและหนักที่ขา หรือบางรายอาจรู้สึกเพียงเหน็บชาคล้ายเวลาที่นั่งทับขานานๆ เท่านั้น

 สัญญาณเตือนที่ควรรีบพบแพทย์

     ถึงแม้ว่าอาการปวดหลังอาจต้องใช้เวลากว่าอาการจะทุเลาลง แต่บางครั้งก็อาจมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าควรรีบพบแพทย์ทันที ได้แก่

-อาการปวดหลังที่เป็นเรื้อรังติดต่อกันนานเกินกว่า 3 เดือน  , ปวดร้าวลงสะโพก ขา จนถึงบริเวณน่องหรือเท้า , อาการปวดเฉียบพลันที่ไม่ทุเลาลงเมื่อได้พัก หรือมีอาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ , อาการปวดหลังเมื่อบาดเจ็บหรือหกล้ม

-อาการปวดร่วมกับ..ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ , ขาอ่อนแรง , ชาบริเวณขา เท้า หรือรอบทวารหนัก , คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ , น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ

 ทางเลือกในการรักษา

     เป้าหมายของการรักษาอาการปวดหลัง คือ เพื่อลดอาการปวด และให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติที่สุด โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดหลังและระยะเวลาที่เป็น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งรักษาที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการและพยายามหาวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยที่สุดก่อน

     โดยทั่วไปการรักษาจะมีอยู่ 2 วิธีหลัก ได้แก่

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

.การรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่ การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด และการนอนพัก มักเป็นวิธีที่ใช้เริ่มต้นในการรักษา ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าต้องได้รับการรักษาโดยวิธีอื่น

.การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งจะช่วยลดความปวดจากการอักเสบและช่วยในการวินิจฉัยตำแหน่งที่เป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ การรักษาวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบประคับประคองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการปวดจากการที่เส้นประสาทโดนรบกวน

     การรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้เมื่อผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ หรือเมื่อทำการรักษาโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ซึ่งวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นกับภาวะของผู้ป่วยหรือข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด (ตามตารางด้านล่าง)


ภาวะความผิดปกติของกระดูกสันหลัง
ทางเลือกในการรักษา
การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
การผ่าตัดด้วยวิธีมาตรฐาน
การผ่าตัดแบบแผลเล็ก 
การผ่าตัดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบด้วยกล้องจุลทรรศน์
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ
กระดูกสันหลังหักจากภาวะกระดูกบาง


การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูก
















กายบริหารโยคะช่วยป้องกันหรือบรรเทาปวดหลัง

จากwww.manager.co.th

       >>ถ้าอาการ “ปวดหลัง” เป็นมรสุมลูกใหญ่ในชีวิตที่ตามรุมเร้าและเฝ้าหลอกหลอน จนส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันแล้วล่ะก็อย่านิ่งนอนใจ ปล่อยให้อาการปวดหลังคุกคามจนถึงขั้นรุนแรง มาหยุดอาการปวดหลังด้วย การฝึกโยคะกับ 3 ท่าเบสิกที่ทำได้ง่ายๆ ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน และหากได้ทำต่อเนื่องเป็นประจำ รับรองว่าจะเป็นไม้เด็ดที่กำราบอาการปวดหลังได้อยู่หมัดแน่นอน


ท่าภูเขา
         :: โยคะ ท่าภูเขา 

       
ประโยชน์ของท่านี้นอกจากจะช่วยลดอาการปวดหลังแล้วยังทำให้ยืนได้ถูกหลักบนฝ่าเท้าแบนราบ รวมถึงช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขา เข่า ข้อเท้าตลอดจนกล้ามเนื้อหน้าท้องและก้นแข็งแรง ฟิตแอนด์เฟิร์มสุดๆ
 
       1.
เริ่มต้นให้ยืนตรงเท้าชิด ส้นเท้าและฝ่าเท้าตรงกัน เหยียดเข่าให้ตึง
       2.
เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาให้เข่ากระชับ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
       3.
ยืดอก หลังเหยียดตรง คอตั้งตรง ตามองตรงไปข้างหน้า
       4.
รักษาสมดุลของร่างกายให้น้ำหนักผ่านเป็นแนวตรงลงมาจากศีรษะ ไหล่กึ่งกลางสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า และไปยังฝ่าเท้าทั้งสองข้าง แขนวางแนบลำตัว
       5.
แขนวางแนบลำตัว หรือพนมมือเหนือศีรษะ หรือพนมมือจดหน้าอกก็ได้


ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 1

ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 2

ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 3


       :: โยคะ ท่าพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว 
 
       
เพื่อยืดกระดูกสันหลัง ยืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวและกล้ามเนื้อชายโครง
       1.
เริ่มจากยืนตรงพนมมือเหนือศีรษะ
       2.
ค่อยๆ เอียงตัวไปด้านข้างช้าๆ ค้างไว้ 3 ลมหายใจ แล้วกลับมายืนตรง
       3.
ทำซ้ำ โดยเอียงตัวไปด้านตรงข้าม



ท่า side strecth 1

ท่า side strecth 2

       :: โยคะ ท่า Side Stretch
 
       
เพื่อให้กระดูกสันหลังมีการบิดตัว ระบบประสาทและแนวกระดูกสันหลังมีการคลายตัว ประโยชน์ของท่านี้คือช่วยลดอาการบาดเจ็บบริเวณบั้นเอว สะโพก กล้ามเนื้อ แผ่นหลัง รวมไปถึงกระตุ้นระบบการย่อย การดูดซึม การเผาผลาญอีกด้วย
 
       1.
หายใจเข้า เหยียดแขนพนมมือเหนือศรีษะ แขนทั้งสองข้างอยู่หลังใบหู
       2.
หายใจออก บิดตัวไปด้านซ้าย แขนทั้งสองข้างตึง สติอยู่ที่ลมหายใจเข้าลึก-ออกยาว ผ่อนคลาย ค้างอยู่ในท่า 6 ลมหายใจ
       3.
หายใจเข้า บิดตัวกลับมาตัวตรง มืออยู่เหนือศรีษะแขนอยู่หลังใบหู
       4.
หายใจออก บิดตัวไปด้านขวา แขนทั้งสองข้างตึง ค้างอยู่ในท่า 6 ลมหายใจ
       5.
หายใจเข้า บิดตัวกลับมาตั้งตรง มืออยู่เหนือศรีษะแขนอยู่หลังใบหู
       6.
หายใจออก วางมือ แล้วสลับข้าง ทำซ้ำ 1-6 ครั้ง
 
       
ข้อมูลจาก: Holistic Yoga (The Place Where You Reborn)
        


ท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
จากโรงพยาบาลสมิติเวช


ภาพ samitivejhospital.com

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บไซต์ทุกเว็บ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น