วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

สุขภาพดีไม่มีขาย..จึง..ต้องทำเอง.2 โรคหัวใจ

กลุ่มโรคหัวใจ   Heart Diseases
อาการน่าสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจ


   โรคหัวใจเป็นโรคยอดฮิตโรคหนึ่งซึ่งไม่มีใครที่เป็นแล้วจะดีใจแน่  ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักกับโรคหัวใจ เพื่อที่จะระวังป้องกันการเป็นโรคหัวใจนี้
**ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเว็บ กระปุก...อีกอย่างภรรยาเป็นพยาบาลเขาตรวจทานให้ด้วย

หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย - ขวา โดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน ล่างโดยลิ้นหัวใจ ในทุกๆ วัน หัวใจคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน
อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน  คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้   
     
1.ออกกำลังกายแล้วเหนื่อย หัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ..จากกระปุก          




2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ..จากกระปุก
     



3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้..จากกระปุก

* ข้อนี้เคยเห็นรุ่นน้องเป็นมาแล้วคือ พอนอนแล้วรู้สึกเหมือนจะตาย ต้องนั่งหลับถึงจะได้ ต่อมาก็เสียชีวิต




4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน..จากกระปุก

                                                     ภาพจากwww.bumrungrad.com

"บทความจากwww.bumrungrad.com

+  ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น มีผนังหัวใจหนามาก ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อายุน้อย ๆ มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
+  ความผิดปกติทางร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ เบาหวานความดันโลหิต ไขมันในเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ซึ่งมักพบในผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุ
+  อาหารบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต
+  ยารักษาโรคบางชนิด อาทิ ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน ยารักษาโรคหอบหืด
+  ความผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ภาวะต่อม ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น
+  ความเครียดและความวิตกกังวล

      ปัจจัยทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อระบบไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจเปลี่ยนไป เกิดคลื่นไฟฟ้าหมุนวน หรือทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งหากเป็นการเต้นเร็วผิดปกติ จากหัวใจห้องบนแบบเต้นพลิ้วก็อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ซึ่งถ้าลิ่มเลือดนี้หลุดไปที่สมองก็มีโอกาสทำให้เป็นอัมพาตได้ หรือถ้าหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดี และหาก ปล่อยไว้นานหัวใจก็อาจจะเต้นพลิ้วและอาจจะหยุดเต้นได้
      อย่างไรก็ตาม นพ. โชติกร อธิบายว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นไม่ได้เป็นอันตรายไปเสียทั้งหมด เมื่อเกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นแพทย์จะวิเคราะห์ว่าเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใด เช่น หากเป็นการเต้น แทรกธรรมดาจากห้องข้างบนหรือห้องข้างล่างของหัวใจ แต่ตรวจแล้วไม่พบสัญญาณของหลอดเลือดอุดตัน หรือ หัวใจอ่อนแรง ก็ไม่เป็นอันตรายแต่ถ้าเป็นหัวใจเต้นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation ซึ่งมักพบในผู้ป่วย สูงอายุ พวกนี้เป็นอันตรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง"


 5.เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจได้..จากกระปุก


"จากwww.doctor.or.th
ถ้าเป็นลมเนื่องจากโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้การรักษาตามสาเหตุ โดยใช้ยา เช่น ยาควบคุมเบาหวาน ความดันเลือด ไขมันในเลือด ยาต้านภาวะหัวใจล้มเหลว ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น แอสไพริน) เป็นต้น บางราย (เช่น ผู้ป่วยลิ้นหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตีบ) อาจต้องผ่าตัดผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในช่วงแรกอาจต้องรับตัวรักษาไว้ในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด"

6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้....จากกระปุก



ต่อไปจาก www.wearenurse.com
การเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากหัวใจหยุดทำงานมักเกิดจาก 2 สาเหตุ ใหญ่ ได้แก่ 
(1) จากภาวะของโรคหัวใจโดยตรง เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน, โรคลิ้นหัวใจอักเสบ, โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนา, โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น บุคคลที่มีพยาธิสภาพของโรคหัวใจดังกล่าวมักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ในการ ดูแลและป้องกันภาวะที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างกะทันหันที่เรียกว่า Sudden Cardiac Death (SCD)    

 (2) จากภาวะหัวใจหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีสุขภาพ แข็งแรงและมักจะยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Pokkuri หรือ Sudden Unexplained Death Syndrome (SUDS) หรือที่รู้จักกันในภาษาไทยว่าโรคไหลตาย"

โรคหัวใจที่สังเกตอาการผิดปกติที่ได้จากร่างกาย  
     นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว..จากกระปุก

จากwww.manager.co.th
โรคหัวใจ อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือโซเดียม และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย อาจเกิดจากโรคหัวใจบางชนิด อาการบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุ แล้วจึงให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป




   2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง..จากกระปุก

"จากwww.docter.or.th
ลิ้นเขียว ปากเขียว เล็บเขียว

                                          ลิ้นเขียวคล้ำเหมือนคนที่กินลูกหว้า(ผลไม้สีม่วง)

                                             ริมฝีปากเขียวคล้ำ เหมือนทาด้วยลิปสติกสีม่วง


     คนปกติทั่วไป สีของลิ้น ริมฝีปาก และเล็บมือเล้บเท้า จะออกแดงเรื่อๆ เนื่องจากมีเลือดแดงมาเลี้ยง เด็กในภาพจะเห็นว่า ทั้งลิ้น ริมฝีปาก และเล็บมือมีสีเขียวปนม่วง คล้ายกับคนที่กินลูกหว้า (ผลไม้สีม่วง ) หรือทาลิปสติกสีม่วง

ลักษณะเช่นนี้ ศัพท์แสงทางหมอเรียกว่า ภาวะเขียว หรือ ซัยยาโนสิส “( cyanosis )
เด็กคนนี้มีอาการเหนื่อยง่าย ลิ้นเขียว ปากเขียว เล็บเขียวมาตั้งแต่เกิด เนื่องจากเป็นโรคหัวใจพิการมาตั้งแต่กำเนิดชนิดหนึ่งที่ทำให้เลือดแดง ( หมายถึงเลือดที่มีก๊าซออกซิเจนจับตัวอยู่มาก)กับเลือดดำ( หมายถึง เลือดที่มีก๊าซออกซิเจนจับตัวอยู่น้อย แต่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเสียจับตัวอยู่มาก ) ผสมปนเปกันเป็นสีคล้ำๆแล้วถูกสูบฉีดไปทั่วร่างกาย จึงทำให้ส่วนต่างๆของ ร่างกายมีสีเขียวคล้ำไป

ถ้าท่านพบเด็กที่มีอาการวิ่งเล่นแล้วเหนื่อยง่าย และมีลิ้นเขียว ปากเขียว เล็บเขียว ก็พึงพาเด็กไปปรึกษาหมอ โรคหัวใจพืการบางอย่างอาจผ่าตัดแก้ไขได้ ถ้าได้ปรึกษาหมอแต่เนิ่นๆ"

การตรวจร่างกายแล้วพบสิ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจ 


       การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน





ป้องกันด้วยตัวเองก่อนที่จะเป็นโรคหัวใจ

 ได้มีการประชาสัมพันธ์ถึงการป้องกันโรคหัวใจกันอย่างแพร่หลาย พอจะสรุปได้ว่า ให้ระวังเรื่องอาหารการกินที่มีไขมันมาก รับประทานผักผลไม้มากขึ้น พยายามทำใจให้ผ่องใสไม่เครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ลดอัตราเสี่ยงโรคหัวใจได้มากแล้ว..จากกระปุก









โรคหัวใจนี้เราทุกคนป้องกันได้ง่ายๆอย่างนี้แล้วจะไม่ลองทำเชียวหรือ

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลดีๆจากเว็บไซต์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น