นึกเรื่องเก่า เล่าความหลัง กินของขม ชมเด็กสาว แปลว่า..เริ่มแก่แล้ว ๒
สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง
ตอนที่ข้าพเจ้ายังเด็กยังทันเห็นสะพานพุทธหรือสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ปิดเปิดตัวสะพาน คือตรงช่วงกลางสะพานเป็นโครงเหล็ก ส่วนภายในตอหม้อของสะพานจะมีเครื่องกว้านที่ทำให้โครงเหล็กนี้ยกเปิดขึ้นได้ สาเหตุที่ต้องสร้างให้สะพานเปิดปิดได้มาจากการที่มีเรือลำใหญ่ๆเช่นเรือรบผ่านเข้าออกนั่นเอง ตรงบริเวณใกล้ๆสะพานเป็นกองทัพเรือซึ่งปัจจุบันเป็นกรมอู่ทหารเรือ
สะพานพระพุทธยอดฟ้า และ โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง
ตอนที่ข้าพเจ้ายังเด็กยังทันเห็นสะพานพุทธหรือสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ปิดเปิดตัวสะพาน คือตรงช่วงกลางสะพานเป็นโครงเหล็ก ส่วนภายในตอหม้อของสะพานจะมีเครื่องกว้านที่ทำให้โครงเหล็กนี้ยกเปิดขึ้นได้ สาเหตุที่ต้องสร้างให้สะพานเปิดปิดได้มาจากการที่มีเรือลำใหญ่ๆเช่นเรือรบผ่านเข้าออกนั่นเอง ตรงบริเวณใกล้ๆสะพานเป็นกองทัพเรือซึ่งปัจจุบันเป็นกรมอู่ทหารเรือ
สะพานพุทธฯกำลังเปิดให้เรือรบผ่าน |
ความเป็นมาของสะพานพุทธมาจากการที่กรุงเทพฯได้มีอายุนับจากเริ่มสร้างมาแล้วเป็นเวลา 150 ปี เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพฯครบ 150 ปีนี้เอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพฯ โดยมีพระราชดำริว่า ควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก ทั้งยังเป็นการขยายพระนครอีกด้วย จึงเริ่มสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าในปี พ.ศ.2472
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจึงโปรดเกล้าฯ
ให้คิดแบบพระบรมราชานุสาวรีย์
และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นประกอบกันเป็นปฐมบรมราชานุสรณ์ที่ปลายถนนตรีเพชร
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 6
เมษายน พ.ศ. 2475 ถือเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 2 ถัดจากสะพานพระราม 6
ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
พระบามสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงวางศิลาฤกษ์ |
ทรงตรวจงานสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า |
โครงการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และสะพานได้เริ่มตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2471 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
(ต่อมาเป็นกรมพระยา) อุปนายกราชบัณฑิตยสภา
ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปกรรมคิดแบบอย่างเป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์เสด็จประทับเหนือพระราชบัลลังก์และหล่อด้วยทองสำริด
ขนาดสูงตั้งแต่ฐานถึงยอด 4.60 เมตร ฐานกว้าง 2.30 เมตร ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยานั้น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
(ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน)
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงเป็นผู้อำนวยการสร้าง
โดยได้เลือกแบบของบริษัทดอรแมนลอง ประเทศอังกฤษ และสร้างเป็นสะพานเหล็กยาว 229.76
เมตร กว้าง 16.68 เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ 7.50 เมตร
และอาจยกตอนกลางขึ้นด้วยแรงไฟฟ้า เปิดช่องกว้าง 60
เมตรเพื่อให้เรือใหญ่ผ่านได้สะดวก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2472 และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสะพานว่า
สะพานพระพุทธยอดฟ้า
รัฐบาลสยามในสมัยนั้นได้ประมาณการงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ไว้เป็นจำนวน
4,000,000 บาท
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง
รัฐบาลส่วนหนึ่ง ส่วนอีกจำนวนหนึ่งนั้นทรงพระราชดำริว่าควรบอกบุญเรี่ยไรประชาชน
เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 6
เมษายน พ.ศ. 2475
วันเวลาผ่านไปถึงยุคหลังพ.ศ.๒๕๐๐ สะพานพุทธฯเป็นที่ขึ้นชื่อเรื่องรถติดเป็นอย่างมาก รถจะติดทั้งทางฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ยิ่งเป็นช่วงเช้าและเย็นด้วยแล้ว รถจะติดกันอย่างโกลาหล เพราะสะพานพุทธฯเป็นสะพานที่เชื่อมฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีในย่านที่เป็นเส้นทางที่ประชาชนใช้กันมากที่สุด
ทางแถบสะพานพุทธฯฝั่งพระนครนั้น
มีโรงเรียนสวนกุหลาบ โรงเรียนเพาะช่าง
โรงเรียนราชินี ส่วนโรงเรียนระดับเด็กโตขึ้นเป็นวัยรุ่นแล้ว
ก็มีโรงเรียนพาณิชยการตั้งตรงจิตและโรงเรียนเสาวภา นี่นับเฉพาะที่ใกล้ๆสะพานพุทธฯ
ถ้านับเอาที่ถัดออกไปอีกก็มีโรงเรียนวัดราชบพิธ ดังนั้นพอช่วงเช้าและช่วงเย็น
จะมีผู้ปกครองมาส่งและรับบุตรหลานกันมาก
มิหนำซ้ำยังมีปากคลองตลาดที่มีการขนพืชผักกันตลอดเวลา ทำให้ย่านสะพานพุทธฯรถติดจนเป็นที่เลื่องลือ
นอกจากนี้ยังมีโรงภาพยนตร์ชั้นนำในสมัยนั้นคือ
โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ ซึ่งมักจะฉายภาพยนตร์ไทยเป็นส่วนใหญ่
โรงหนังเอ็มไพร์อยู่ทางซ้ายของภาพ |
ศาลาเฉลิมกรุง |
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์กว่า ๙ ล้านบาท เพื่อสร้างโรงภาพยนตร์สำหรับฉายภาพยนตร์เสียงขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย อีกทั้งยังมีลักษณะภูมิฐานเป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศได้ ในการนี้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร สถาปนิกผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันชั้นนำของประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ได้พระราชทานนามของโรงมหรสพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบ และเป็นอนุสรณ์แห่งงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ว่า “ ศาลาเฉลิมกรุง ”
สถาปัตยกรรมของตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมสูงแบบโมเดิร์นสไตล์ (Modern Style) ตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตรีเพชร ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดย หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร และ นารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร สร้างโดยบริษัทบางกอก ภายในออกแบบตกแต่งเรียบง่าย ระหว่างตะวันตกผสมผสานกับไทย และได้รับพระราชทานนามว่า "ศาลาเฉลิมกรุง" เปิดฉายปฐมฤกษ์ด้วยหนังฝรั่งเสียงในฟิล์ม เรื่อง "มหาภัยใต้ทะเล" เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476
ศาลาเฉลิมกรุงเป็นสถานที่บรรเทิงที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เป็นสถานที่เที่ยวที่นิยมกันมาก ทำให้ย่านนี้พลอยคึกคักขึ้นมา มีร้านค้าร้านอาหารเกิดขึ้นมากมาย ความเจริญของย่านโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงนี้ ได้ขยายออกไปทางแถบวังบูรพาอีกด้วย ต่อมาภายหลังมีการสร้างโรงภาพยนตร์ขึ้นที่ย่านวังบูรพาถึงสามโรง
สมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กจนถึงเป็นวัยรุ่น ได้ไปชมภาพยนตร์ หรือเรียกกันแบบบ้านๆว่าดูหนังที่ศาลาเฉลิมกรุงแบบนับครั้งไม่ถ้วน ยังจำชื่อหนังไทยได้หลายๆเรื่อง นับเป็นความทรงจำที่ชื่นบานมาก คนรุ่นอายุ ๕๐ ขึ้นไปต้องเคยดูหนังที่ศาลาเฉลิมกรุงแน่ๆ
**ภาพจากหลายๆเว็บไซต์ ขออภัยที่ลืมบันทึกชื่อเว็บไว้ ได้ข้อมูลจะแก้ไขใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น