พระพุทธนาคน้อย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พระพุทธนาคน้อย หรือหลวงพ่อนาค ที่ชาวจีนนิยมเรียกว่า "ลักน้อย"
หรือ "ซำปอกง" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ
วัสดุที่ใช้สร้างพระเป็นพระเนื้อนากปิดทอง หน้าตักกว้าง ๔.๒๕ เมตร หรือ ๘ ศอก ๑๒ นิ้ว สูง ๕.๓๐ เมตร ศิลปะแบบสุโขทัย
ได้อัญเชิญลงมาจากสุโขทัย
สถานที่ประดิษฐาน
ประดิษยฐาน ณ พระวิหาร วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร เชิงสะพานพุทธฯฝั่งธนบุรี
กรุงเทพ มหานคร
พระพุทธนาคน้อย เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อัญเชิญมาจากจังหวัดสุโขทัย
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ซึ่งยังไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ว่าอัญเชิญมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราช หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลักฐานมีอยู่สองประการคือ
๑.
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้รวบรวมพระพุทธรูปต่างๆ จากหัวเมือง เหนือ จำนวน ๑๒๔๘ องค์ ไปยังกรุงเทพฯ เพื่อบูรณะซ่อมแปลงให้งดงามบริบูรณ์แล้วพระราชทานไปประดิษฐานตามพระอารามต่างๆ
สันนิษฐานว่าพระพุทธนาคน้อยคงจะอัญเชิญมาพร้อมกันในครั้งนี้
พร้อมกับพระศรีศากยมุนี ซึ่งประดิษฐานในพระวิหารวัดสุทัศนเทพ วราราม
และเรียกพระนามสามัญว่า พระพุทธนาคใหญ่
พระพุทธนาคน้อย |
๒.วัดประยุรวงศาวาสนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
(ดิศบุนนาค) เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าพระยาคลังว่าที่พระคลังและว่าที่สมุห กลาโหม
ได้อุทิศสวนกาแฟสร้างวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๑ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี
พ.ศ. ๒๓๗๕ พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดประยุรวงศาวาส
มีคำบอกเล่าสืบต่อกันมาอีกกระแสหนึ่งว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญ
เชิญพระพุทธนาคน้อยมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๒๓๗๔
แล้วพระราชทานให้เป็นพระประทานในพระวิหาร วัดประยุรวงศาวาสสืบมา
สาเหตุที่เรียกว่า “พระพุทธนาคน้อย” หรือ “หลวงพ่อนาค”
นั้นนอกจากข้อสันนิษฐานที่ว่าอัญเชิญมาจากสุโขทัยพร้อมกับพระศรีศากยมุนี หรือพระพุทธนาคใหญ่ที่ประดิษฐานในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามแล้ว
ยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า
ครั้งหนึ่งทำนั่งร้าน
ไม้นั่งร้านไปกระแทกถูกแก้มพระ ปูนแตกกระเทาะ พบว่าเนื้อองค์พระเป็นนาก
จึงพอกปูนไว้ตามเดิม พระพุทธนาคน้อยนี้เป็นที่นับถือ
และเคารพบูชาของทั้งพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวจีนเชื้อสายไทย
ด้วยเห็นความมหัศจรรย์และอภินิหารหลายอย่างของท่านเชื่อ
กันว่ามีเทพยดาหลายองค์สถิตอยู่ในองค์พระในหมู่ชาวจีนเชื้อสายไทยต่างเรียกพระนามพระพุทธนาคน้อยว่า
ลักน้อย ซึ่งแปลว่ากลีบ บัว ๖ ชั้น
อันประดับอยู่ใต้ฐานชุกชีและนิยมยกย่องเรียกเป็น ซำปอกง
วิหารพระพุทธนาคศักดิ์สิทธิ์
พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธนาคเป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย
กว้าง 16.99 เมตร ยาว 20.19 เมตร เป็นวิหาร 5 ห้อง หลังคาลด 2 ชั้น
หน้าบันสลักลวดลายดอกไม้สวยสดงดงามและปิดทองประดับกระจกแพรวพราว มีซุ้มประตู 4
ประตู บานประตูประดับมุก
พระวิหารนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 4.25 เมตร
สูง 5.70 เมตร มีพระนามว่า พระพุทธนาค ประชาชนเรียกกันว่า พระพุทธนาคน้อย เป็นพระพุทธรูปโบราณคู่กับพระศรีศากยมุนี
พระประธานในพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม พระพุทธรูปทั้งสองนี้
ประกอบด้วยพระพุทธลักษณะสมัยสุโขทัยเหมือนกัน คือ มีพระรัศมีเปลวแต่ไม่มีไรพระสก
ชายผ้ารัดประคตเป็นเขี้ยวตะขาบและประทับนั่งขัดสมาธิราบเช่นเดียวกับ พระพุทธชินราช
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
พระพุทธนาคนี้ได้รับอัญเชิญจากจังหวัดสุโขทัยมาประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารวัดประยุรวงศาวาส เมื่อ พ.ศ. 2374
พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวจีน
ให้ความเคารพบูชาในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธนาคเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยได้รับสิ่งที่เป็นอัศจรรย์หลายประการ
และโดยทั่วไปมักเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธนาคน้อย
เพื่อให้คู่กับพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม ที่เรียกว่า พระพุทธนาคใหญ่
พุทธศาสนิกชนชาวจีนได้ขนานนาม พระพุทธนาค นี้ว่า " ลักน้อย " แปลว่า
กลีบบัว 6 ชั้น
พุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมเรียกพระพุทธนาคน้อยว่า ซำปอกง (หลวงพ่อโต)
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพระวิหารและพระพุทธนาคเป็นศิลปโบราณสถานวัตถุของชาติและพระศาสนา
ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
ใน พ.ศ. 2550
พระพรหมบัณฑิตขณะยังเป็นพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส รูปปัจจุบัน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งได้รับจากประเทศศรีลังกา พม่า และที่ค้นพบในพระบรมธาตุมหาเจดีย์
วัดประยุรวงศาวาส มาประดิษฐานในพระวิหาร
ที่มา...ประวัติวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร และ วิกิพิเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น