วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระประธานในพระอุโบสถ
วัดสุทัศนเทพวราราม แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ วัดสุทัศนฯนี้นับว่าเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่
๘ แห่งราชวงศ์จักรี
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์มีขนาดหน้าตักกว้าง
๑๐ ศอก ๘ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะงดงามสมส่วน
พระพักตร์ดูอิ่มเอิบ พระโอษฐ์ดูเหมือนยิ้มน้อยๆ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีสูง
เป็นปูนปั้นลายปิดทองคำเปลวประดับกระจกสี
คนในสมัยปัจจุบันแทบไม่มีใครทราบเลยว่า
พระศรีศาสดาเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศนฯ
พระพุทธรูปและพระอสีติมหาสาวกสร้างด้วยปูนปั้นลงสี
พระอสีติมหาสาวกนั้นปั้นเป็นรูปนั่งพนมมือ ลักษณะอาการกำลังฟังพระบรมโอวาทจากพระพุทธองค์
ซึ่งประทับเป็นประธานอยู่เบื้องหน้า
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์และพระอสีติมหาสาวก |
พระอรหันต์ ๘๐ รูป |
พระอสีติมหาสาวกเป็นแบบปูนปั้น |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอุโบสถวัดสุทัศนฯ โดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๓๗๗ สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๓๘๖
พระอุโบสถ
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร นั้น เป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ และมีความยาวที่สุดในประเทศไทย
คือ มีขนาดกว้าง ๒๒.๖๐ เมตร ยาว ๗๒.๒๕ เมตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนตามแบบสถาปัตยกรรมไทย
เป็นอาคารสูงใหญ่มาก มีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับหลังคาทั้งหมด ๖๘ ต้น มีหลังคา
๔ ชั้น และขั้นลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หลังคาพระอุโบสถมุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวเป็นพื้น
คั่นกรอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ |
ด้านหลังพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ |
หน้าบันมุขหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลักลายประดับกระจกสี
ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกแกะสลักเป็นรูปพระอาทิตย์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมราชสีห์
มีพระวรกายเป็นสีแดงสวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวบาน หมายถึงการห้ามอันตรายทั้งปวง
ส่วนพระหัตถ์ขวาถือดอกบัวตูม หมายถึงการอำนวยพร
ด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตก
สลักเป็นรูปพระจันทร์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมม้า มีพระวรกายสีขาว สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม
พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์
ผนังพระอุโบสถได้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างชั้นครูในสมัยรัชกาลที่
๓ เป็นภาพพระพุทธประวัติ และมีภาพพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
ถ้าสังเกตภาพจิตรกรรมดูจะเห็นว่า
ได้วาดภาพสอดแทรกไว้เป็นเรื่องชีวิตประจำวันของคนไทย และมีภาพชาวต่างชาติเช่น
คนจีนกำลังรำกระบี่
จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดสุทัศนฯ |
ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอดพระพิชัยมหามงกุฎ
ที่มีลักษณะค่อนข้างแปลกตาและงดงามมากโดยรอบพระอุโบสถมี ซุ้มเสมายอดเจดีย์ ทั้งหมด
๘ ซุ้ม คือเป็นซุ้มเสมาที่ทำเรือนซุ้มเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ยอดซุ้มทำเป็นรูปทรงอย่างเจดีย์ มีใบเสมา
๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่ เป็นหินสลักรูปช้าง ๓ เศียรชูงวง แต่ละงวงถือ ดอกบัวตูม ๓ ดอก และดอกบัวบาน ๒
ดอก เกสรดอกบัวบานเป็นรูปสัตว์ เป็นรูปนกนั้น หมายถึงพระอาทิตย์
และเป็นรูปกระต่ายนั้น หมายถึงพระจันทร์ สันนิษฐานว่า หมายถึงรัชกาลที่ ๑
และรัชกาลที่ ๒ ที่เสด็จสวรรคตไปแล้ว ดอกบัวตูม ๓ ดอก หมายถึงสร้างโดยรัชกาลที่ ๓
สมัยยังทรงพระชนม์ ที่ด้านบนกำแพงแก้วมีเกยทางทิศเหนือ ๔ เกย ทิศใต้ ๔ เกย
ทำด้วยหินอ่อนสีเทา สำหรับใช้ในงานพระราชพิธีประทับโปรยทานแก่พสกนิกร เรียกว่า
เกยโปรยทาน
สำหรับ
ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ บานประตูด้านนอกเป็นภาพจิตรกรรมรูป “ครุฑยุดนาค”ซึ่งเป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ในรัชกาลที่
๒ มาจากพระนามเดิมว่า ฉิม และคำว่าวิมานฉิมพลีเป็นที่พำนักของพญาครุฑ จึงทรงใช้ครุฑเป็นตราประจำพระองค์แทนพระบรมนามาภิไธย
รอบๆพระอุโบสถมีรูปหินแบบจีนที่เรียกว่าอับเฉาตั้งประดับไว้
อับเฉาหรือหินอับเฉาเหล่านี้ทำเป็นรูปแบบจีน
จินตนาการว่าเป็นเซียนเป็นนางฟ้าอยู่รอบๆพระอุโบสถ มีรูปสิงโตจีนเล็กใหญ่
ที่ไม่ค่อยมีคนทราบหรือสังเกตกันก็คือ
ที่ด้านนอกของกำแพงแก้วตรงริมกำแพงวัดทั้งสี่ด้านที่ติดกับถนน ได้มีการจำลองสวนสวรรค์ทั้งสี่ของพระอินทร์ไว้ด้วย
โดยใช้ตุ๊กตาอับเฉารูปร่างต่างๆมาประดับ
ปัจจุบันทางวัดสุทัศนฯได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าไปสักการะพระพุทธตรีโลกเชษฐ์
และชมความงดงามของพระอุโบสถทุกวัน ภายในพระอุโบสถ์มีฆ้องใบใหญ่ให้ตีเอาฤกษ์เอาชัยด้วย
ภาพsihawatchara
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น