บุญเพ็งหีบเหล็ก..The Murderer Iron Box
ภาพนี้คุณเอนก นาวิกมูล เผยแพร่ไว้ |
นายบุญเพ็ง |
คดีนี้เปรียบเทียบได้กับคดีของฆาตกรดังระดับโลก ถึงขนาดว่าฝรั่งยังรู้จักและเรียกบุญเพ็ง หีบเหล็ก ว่า "The Murderer Iron Box"
คดีบุญเพ็งหีบเหล็กเป็นคดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่สามารถยืนยันได้ว่า เป็นการฆาตกรรม ๒ ศพ มีข้อสงสัยว่า นายบุญเพ็งอาจทำการฆาตกรรมถึง ๗ ศพ แต่ไม่มีหลักฐาน จึงต้องให้น้ำหนักไปว่าทำฆาตกรรมไปแล้ว ๒ ศพ ซึ่งเป็น ๒ ศพที่มีหลักฐานมัดฆาตกรอย่างแน่นหนา
บุญเพ็งเกิดเมื่อปีขาล ที่ท่าอุเทน มณฑลอุดร บิดาเป็นชาวจีน
มารดานัยว่าเป็นคนมณฑลอุดรนั้นเอง บุญเพ็งเข้ามาอยู่กรุงเทพฯตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ
โดยได้อาศัยอยู่กับตายายแถบบางปะกอก ว่ากันว่าบิดามารดาเสียไปตั้งแต่บุญเพ็งยังเล็ก
แต่เรื่องนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด
เพียงแต่มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่าบุญเพ็งกำพร้าทั้งพ่อและแม่
บุญเพ็งได้รับการเลี้ยงดูจากตาสุกและยายเพียรจนโตเป็นหนุ่ม
ว่ากันว่าบุญเพ็งเป็นคนมีรูปร่างน่าตาดี มีกิริยานอบน้อม เจรจาพาทีไพเราะปากหวานเจ้าคารม เป็นที่ต้องตาต้องใจของสาวๆทั้งหลาย แต่บุญเพ็งเป็นคนที่ไม่เอาการเอางาน
แม้ตายายจะสั่งสอนอย่างไรก็ไม่ค่อยรับฟัง บุญเพ็งสนใจวิชาทางด้านไสยศาสตร์
ได้ไปขอเรียนวิชากับตาไปล่ สัปเหร่อวัดไผ่เคาะ ซึ่งเชื่อว่ามีวิชาดีทางภูตผีปีศาจ
เสน่ห์ยาแฝด และหมอดู
ความที่บุญเพ็งชอบไสยศาสตร์ไปในทางไสยดำ จึงถูกตายายดุด่าห้ามปรามไม่ให้เล่นวิชาไสยศาสตร์
บุญเพ็งไม่ยอมเชื่อฟัง ในที่สุดจึงหนีแยกไปอยู่ที่บางลำพู พระนคร(กรุงเทพฯ) ในเวลาต่อมาได้หาเลี้ยงชีพโดยตั้งสำนักแบบหมอไสยศาสตร์หมอผี อยู่ในสวนแถบคลองบางลำพู ทำการดูดวงสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ทั้งยังรับทำเสน่ห์ยาแฝด และทำทุกอย่างที่เป็นไสยศาสตร์มนต์ดำ
บุญเพ็งได้บวชเป็นภิกษุที่วัดเทวราชกุญชรซึ่งอยู่ย่านเทเวศร์
แต่ต่อมาถูกขับไล่ออกจากวัดเพราะประพฤติตนไม่ดี
เลยมาขอจำพรรษาที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเจ้าอาวาสไม่อนุญาต
บุญเพ็งให้สัญญาว่าจะกลับตัวประพฤติดี แต่แล้วในที่สุดก็ต้องถูกจับสึก เพราะท่านเจ้าอาวาสเอาจริง คือไม่ยอมให้ย้ายไปอยู่วัดอื่น เพราะถึงย้ายไปแล้วบุญเพ็งก็คงต้องทำผิดวินัยสงฆ์อยู่ดี จึงจับสึกเสีย
ก่อนที่บุญเพ็งจะสึกนั้น ในพ.ศ.๒๔๖๑-๒๔๖๒ กลางสมัยรัชการที่ ๖
บุญเพ็งได้ก่อคดีฆ่าคนโดยการยัดศพใส่หีบเหล็กถ่วงน้ำ ๒ ศพ คือศพนายล้อมและนางปริก
โดยทั้งหมดฆ่าเพียงชิงทรัพย์เพื่อเอาเงินไปซื้อสุรามาดื่มกินและไปเล่นพนันในวัด
ซึ่งถือว่าเป็นพระภิกษุที่ประพฤติชั่ว เป็นการผิดถึงขั้นปาราชิกไม่สมควรจะอยู่ในร่มเงาของศาสนา
หีบที่ใส่เหยื่อรายแรกลอยตามน้ำและปรากฏขึ้นเมื่อปลาย พ.ศ.๒๔๖๐
พบโดยชาวบ้านที่หากินด้วยการงมกุ้งตามแม่น้ำลำคลอง
ได้พบหีบเหล็กใบหนึ่งจมอยู่ก้นคลองบางกอกน้อย(บ้างก็ว่าเป็นที่คลองบางลำพู)
เมื่อเปิดหีบออกมาดูก็พบศพชายคนหนึ่งบรรจุอยู่ในนั้น ทราบภายหลังว่าคือนายล้อม พ่อค้าเพชรพลอย
จากการสืบสวนพบว่าของมีค่าติดตัวได้หายไปทั้งหมด จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการฆ่าชิงทรัพย์
ต่อมาไม่นาน เวลาโพล้เพล้ของวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๑
ชาวบ้านย่านวัดไทรม้า จังหวัดนนทบุรีผู้หนึ่ง
ก็พบหีบเหล็กใบหนึ่งลอยอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัด เมื่อช่วยกันกับชาวบ้านอีกคนชักลากหีบขึ้นมาเปิดก็พบว่า
ในหีบมีศพผู้หญิงถูกมัดมือมัดเท้านั่งยองๆ ยัดใส่อยู่ในหีบใบนั้นพร้อมมีมุ้งคลุมศพ
และก้อนอิฐถ่วงหีบศพอีก ๘ ก้อน
เรื่องการฆ่ายัดหีบเหล็กของบุญเพ็งนี้บ้างก็ว่าหั่นศพเป็นท่อนๆ ทั้งยังฆ่าไปหลายศพแต่พบหีบเหล็กเพียงสองหรือสามใบเท่านั้น
อำมาตย์เอกพระยานนทบุรี นครบาลจังหวัดนนทบุรี
ได้ประกาศหาผู้ปกครองของหญิงเคราะห์ร้ายที่ถูกฆาตกรรมยัดหีบเหล็กโดยแจ้งลงในหนังสือพิมพ์
“กรุงเทพฯ เดลิเมล์” ประจำวันอังคารที่ ๑๔ มกราคม
พ.ศ.๒๔๖๑ และเพียงวันเดียวคดีก็คลี่คลาย มารดาของผู้ตาย เข้าแจ้งกับตำรวจว่า
นางปริกลูกสาว แต่งตัวไปเที่ยวแล้วหายตัวไป
นางปริกเป็นภรรยาขุนสิทธิคดี(ปลั่ง) เป็นคนรวย มีทรัพย์สินมากคนหนึ่ง เช่าห้องอยู่ที่ตึกแถวย่านที่ขายมุ้งหมอนข้างถนนพาหุรัด
นางปริกหายตัวไปตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม โดยก่อนออกจากบ้านวันนั้น นางปริกได้รับจดหมายจากนายบุญเพ็ง
ซึ่งรู้จักกันและมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่นายบุญเพ็งยังบวชอยู่ นายบุญเพ็งให้ไปรับสร้อยที่ได้ยืมไป
นางปริกออกจากบ้านไป โดยที่ข้อมือทั้งสองข้างใส่สร้อยข้อมือทองคำไปด้วย มีนำ้หนักทองคำข้างละ ๑๐ บาท หลังจากนั้นนางปริกก็หายไปไม่กลับบ้าน จึงตั้งข้อสงสัยว่านายบุญเพ็งนี้ต้องเป็นผู้ฆ่าชิงสร้อยข้อมือนางปริกซึ่งเป็นทองคำมีน้ำหนักถึงข้างละ ๑๐ บาท
เล่ากันว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นายบุญเพ็งทำการฆาตกรรมนางปริกก็คือ นางปริกมีความสัมพันธ์กับนายบุญเพ็งจนตั้งท้อง นางปริกต้องการให้นายบุญเพ็งรับผิดชอบ นายบุญเพ็งจึงฆ่านางปริก
นางปริกออกจากบ้านไป โดยที่ข้อมือทั้งสองข้างใส่สร้อยข้อมือทองคำไปด้วย มีนำ้หนักทองคำข้างละ ๑๐ บาท หลังจากนั้นนางปริกก็หายไปไม่กลับบ้าน จึงตั้งข้อสงสัยว่านายบุญเพ็งนี้ต้องเป็นผู้ฆ่าชิงสร้อยข้อมือนางปริกซึ่งเป็นทองคำมีน้ำหนักถึงข้างละ ๑๐ บาท
เล่ากันว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นายบุญเพ็งทำการฆาตกรรมนางปริกก็คือ นางปริกมีความสัมพันธ์กับนายบุญเพ็งจนตั้งท้อง นางปริกต้องการให้นายบุญเพ็งรับผิดชอบ นายบุญเพ็งจึงฆ่านางปริก
ตำรวจออกตามจับบุญเพ็งทันที
ขณะนั้นนายบุญเพ็งเพิ่งสึกและกำลังจะแต่งงานกับนางสาวตาด
ตำรวจได้จับกุมบุญเพ็งได้ที่บ้านนางบัว ตำบลถนนตรีทอง
จากรูปคดีการฆาตกรรมที่มีการใช้หีบเหล็กใส่ศพนางปริก ตำรวจได้สืบจนกระทั่งสามารถโยงไปถึงคดีนายล้อม ซึ่งมีรูปแบบคดีเหมือนกันมากคือ พบศพนายล้อมอยู่ในหีบเหล็กจมน้ำ เหมือนกับที่เจอศพนางปริกอยู่ในหีบเหล็ก
จากการสืบสวนหลักฐานชี้ไปถึงว่าผู้ต้องหามีคนเดียวคือนายบุญเพ็ง นายบุญเพ็งรับสารภาพว่าได้ล่อลวงนายล้อมและนางปริกไปฆ่า เพื่อชิงทรัพย์มาเป็นทุนแต่งงานกับนางตาด จากการสืบสวนพบว่าบุญเพ็งได้ร่วมมือกับเพื่อนเพื่อฆ่าเหยื่อและช่วยกันเอาหีบถ่วงน้ำ
จากรูปคดีการฆาตกรรมที่มีการใช้หีบเหล็กใส่ศพนางปริก ตำรวจได้สืบจนกระทั่งสามารถโยงไปถึงคดีนายล้อม ซึ่งมีรูปแบบคดีเหมือนกันมากคือ พบศพนายล้อมอยู่ในหีบเหล็กจมน้ำ เหมือนกับที่เจอศพนางปริกอยู่ในหีบเหล็ก
จากการสืบสวนหลักฐานชี้ไปถึงว่าผู้ต้องหามีคนเดียวคือนายบุญเพ็ง นายบุญเพ็งรับสารภาพว่าได้ล่อลวงนายล้อมและนางปริกไปฆ่า เพื่อชิงทรัพย์มาเป็นทุนแต่งงานกับนางตาด จากการสืบสวนพบว่าบุญเพ็งได้ร่วมมือกับเพื่อนเพื่อฆ่าเหยื่อและช่วยกันเอาหีบถ่วงน้ำ
คดีฆ่านายล้อม บุญเพ็งได้ร่วมมือกับนายพัน อายุ ๑๙ ปี
ที่เข้าไปมั่วสุมเล่นโปกำโปปั่นในกุฏิ ในขณะนั้นนายบุญเพ็งยังเป็นพระ นายบุญเพ็งและพวกได้ฆ่านายล้อม
ร่วมกันเอาศพนายล้อมใส่ไว้ในหีบเหล็ก จากนั้นจึงนำหีบเหล็กใส่รถเจ๊กลากจากวัดสุทัศน์เพื่อนำไปถ่วงน้ำซ่อนอำพรางคดี
ศาลตัดสินประหารชีวิตนายบุญเพ็งโดยการตัดศีรษะที่ตะแลงแกงวัดภาษี
ศาลตัดสินประหารชีวิตนายบุญเพ็งโดยการตัดศีรษะที่ตะแลงแกงวัดภาษี
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๒ (บ้างก็ว่าวันที่ ๑๙ สิงหาคม) ได้มีประหารบุญเพ็งโดยการตัดศีรษะ ซึ่งเชื่อกันว่านายบุญเพ็งเป็นนักโทษที่ถูกประหารด้วยการตัดหัวเป็นคนสุดท้าย สถานที่ทำการประหารคือที่วัดภาษี มีเรื่องเล่าว่าในช่วงประหารชีวิตบุญเพ็งนั้น เพชฌฆาตได้ฟันคอบุญเพ็งแต่ฟันไม่เข้า เพชฌฆาตต้องให้บุญเพ็งเอาของขลังออกก่อน จากนั้นจึงลงดาบตัดคอบุญเพ็งขาดกระเด็น
แต่จากหนังสือบันทึกเรื่องเล่าของหม่อมเจ้าเริงจิตรแจรง พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ได้บันทึกไว้ว่า วันประหารบุญเพ็งหีบเหล็กนั้น เสด็จเตี่ยทรงพาไปดูการประหารด้วย เพื่อฝึกให้พระโอรสพระธิดามีจิตใจเข้มแข็งกล้าหาญ
หม่อมเจ้าเริงจิตรแจรงบันทึกเล่าว่า ตอนที่เพชฌฆาตลงดาบแรกนั้นฟันพลาดไม่ถึงตาย บุญเพ็งชูมือขึ้นก็มีเลือดไหลออกมา ยังไม่ทันที่บุญเพ็งจะได้พูด เพชฌฆาตก็ฟันดาบสองตัดศีรษะบุญเพ็งขาดกระเด็น
จากภาพการประหารชีวิตด้วยการตัดคอชุดนี้ เชื่อกันว่าเป็นภาพการประหารชีวิตนายบุญเพ็ง แต่เมื่อพิจารณาดูในละเอียดแล้ว น่าจะมีภาพการประหารชีวิตนายบุญเพ็งเพียงภาพเดียวที่น่าจะใช่นายบุญเพ็งจริงๆ ให้สังเกตจากใบหน้า
ศพของนายบุญเพ็ง หีบเหล็ก ถูกนำไปฝังไว้ในป่าช้าวัดภาษีนั่นเอง ภายหลังมีญาติมาจัดการเผาศพตามประเพณี และได้เก็บกระดูกไว้ในเจดีย์ข้างโบสถ์วัดภาษี
แต่จากหนังสือบันทึกเรื่องเล่าของหม่อมเจ้าเริงจิตรแจรง พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ได้บันทึกไว้ว่า วันประหารบุญเพ็งหีบเหล็กนั้น เสด็จเตี่ยทรงพาไปดูการประหารด้วย เพื่อฝึกให้พระโอรสพระธิดามีจิตใจเข้มแข็งกล้าหาญ
หม่อมเจ้าเริงจิตรแจรงบันทึกเล่าว่า ตอนที่เพชฌฆาตลงดาบแรกนั้นฟันพลาดไม่ถึงตาย บุญเพ็งชูมือขึ้นก็มีเลือดไหลออกมา ยังไม่ทันที่บุญเพ็งจะได้พูด เพชฌฆาตก็ฟันดาบสองตัดศีรษะบุญเพ็งขาดกระเด็น
จากภาพการประหารชีวิตด้วยการตัดคอชุดนี้ เชื่อกันว่าเป็นภาพการประหารชีวิตนายบุญเพ็ง แต่เมื่อพิจารณาดูในละเอียดแล้ว น่าจะมีภาพการประหารชีวิตนายบุญเพ็งเพียงภาพเดียวที่น่าจะใช่นายบุญเพ็งจริงๆ ให้สังเกตจากใบหน้า
ภาพที่น่าจะเป็นนายบุญเพ็ง |
ศพของนายบุญเพ็ง หีบเหล็ก ถูกนำไปฝังไว้ในป่าช้าวัดภาษีนั่นเอง ภายหลังมีญาติมาจัดการเผาศพตามประเพณี และได้เก็บกระดูกไว้ในเจดีย์ข้างโบสถ์วัดภาษี
เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๖ ทางวัดภาษีมีการรื้อเจดีย์ที่เก็บกระดูกนายบุญเพ็ง
ทางวัดภาษีได้ให้ช่างปั้นรูปปั้นจำลองไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า ครั้งหนึ่งในอดีตที่วัดภาษีนี้เคยเป็นสถานที่ประหารชีวิตนักโทษโดยการตัดศีรษะ ได้มีการปั้นรูปจำลองนายบุญเพ็งและตั้งไว้ในศาลเล็กๆติดกับวิหาร และเรียกศาลว่า "ศาลปู่บุญเพ็ง" มีหีบเหล็กอยู่ด้วยซึ่งคนเชื่อกันเองว่าเป็นหีบที่นายบุญเพ็งใช้ใส่ศพเหยื่อฆาตกรรม
หีบเหล็กแบบที่ใช้ใส่ศพได้มีคนไปกราบไหว้บูชา เสี่ยงโชคลาภและเชื่อกันว่าวิญญาณของนายบุญเพ็ง หีบเหล็ก ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด ยังคงวนเวียนอยู่ที่วัดนั้นเอง ทั้งยังเชื่อว่าถ้าไปบนบานแล้ว ดวงวิญญาณของนายบุญเพ็งจะช่วยเหลือได้
หีบเหล็กแบบที่ใช้ใส่ศพได้มีคนไปกราบไหว้บูชา เสี่ยงโชคลาภและเชื่อกันว่าวิญญาณของนายบุญเพ็ง หีบเหล็ก ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด ยังคงวนเวียนอยู่ที่วัดนั้นเอง ทั้งยังเชื่อว่าถ้าไปบนบานแล้ว ดวงวิญญาณของนายบุญเพ็งจะช่วยเหลือได้
ปัจจุบัน ศาลบุญเพ็ง หีบเหล็ก ตั้งอยู่ที่ วัดภาษี ซอยเอกมัย๒๓
แขวงคลองตันเหนือ กรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณภาพต่างๆจากอินเตอร์เน็ต
ภาพจาก pantip |
ภาพจาก www.manager.co.th ศาลบุญเพ็งหีบเหล็กที่วัดภาษี เอกมัย |
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ